โอนเงินผิดบัญชี เป็นเรื่องที่ไม่ว่าใครก็ไม่ต้องการให้เกิดขึ้น
แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว เราสามารถทำอะไร แก้ปัญหานี้อย่างไรได้บ้าง พี่ทุยมีคำตอบมาให้ครับ
โอนเงินผิดบัญชี เป็นเรื่องที่ไม่ว่าใครก็ไม่ต้องการให้เกิดขึ้น
แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว เราสามารถทำอะไร แก้ปัญหานี้อย่างไรได้บ้าง พี่ทุยมีคำตอบมาให้ครับ
เงินเฟ้อไทยที่เร่งตัวต่อเนื่องทำให้ ธปท. จำเป็นต้องดำเนินนโยบายการเงินตึงตัวมากขึ้น แต่ด้วยเศรษฐกิจไทยที่ยังคงเปราะบาง การดำเนินนโยบายจึงมีความท้าทายอย่างมาก ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ให้น้ำหนักต่อการรักษาเสถียรภาพด้านราคาเป็นสำคัญ การดำเนินนโยบายการเงินในระยะต่อไปจึงมีแนวโน้มตึงตัวมากขึ้น
แต่การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในภาวะที่เศรษฐกิจยังคงอ่อนแออาจยิ่งซ้ำเติมให้เกิดความเสี่ยงต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ แม้การขึ้นดอกเบี้ยนโยบายจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของทั้งภาคธุรกิจและครัวเรือนแต่รายได้กลับลดลงรุนแรงกว่า จึงคาดว่า ธปท. จะใช้แนวทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างค่อยเป็นค่อยไปและมีเป้าหมายเพื่อลดเงินเฟ้อคาดการณ์เป็นหลัก เนื่องจากเศรษฐกิจไทยเพิ่งเริ่มฟื้นจากวิกฤตโควิด-19 และยังไม่กลับไปสู่ระดับก่อนเกิดการระบาด
ภาวะตลาดแรงงานยังคงอ่อนแอและภาระหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง การใช้นโยบายการเงินตึงตัวเพื่อควบคุมเงินเฟ้อในภาวะเช่นนี้ อาจสร้างคำถามถึงความพร้อมและความ เหมาะสมของนโยบายที่ควรจะเป็น ซึ่งเป็นความท้าทายอย่างมาก
ในส่วนของอัตราเงินเฟ้อจะไม่คงอยู่ในระดับสูงเป็นระยะเวลานาน การขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะเงินเฟ้อฝังลึก (Wage-price spiral) ที่จะทำให้อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวสูงจนยากต่อการควบคุม
ศูนย์วิจัยอีไอซี (EIC หรือ Economic Intelligence Center) ของ ธนาคารไทยพาณิชย์ จึงคาดว่า กนง. จะขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 2 ครั้งในช่วงครึ่งหลังของปีนี้เพื่อเป็นการส่งสัญญาณควบคุมเงินเฟ้อ
การขึ้นดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไปและต่อเนื่อง (ขึ้น 2 ครั้งในปี 2022 และอีก 2 ครั้งในช่วงครึ่งแรกของปี 2023 คราวละ 0.25% หรือเฉลี่ยไตรมาส ละ 1 ครั้ง) สามารถลดเงินเฟ้อคาดการณ์ได้ดีที่สุด โดยไม่สร้างแรงกดดันต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยมากจนเกินไป ดังนั้น การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2 ครั้งในปีนี้จึงเพียงพอและเหมาะสมในการส่งสัญญาณควบคุมเงินเฟ้อคาดการณ์ ท่ามกลางความเสี่ยงในระบบเศรษฐกิจที่อยู่ในระดับสูง
ผลกระทบโดยตรงผ่านการขึ้นดอกเบี้ย
อัตราแลกเปลี่ยนแข็งค่าขึ้น
คาดการณ์เงินเฟ้อในระยะต่อไป
ดอกเบี้ยสูงขึ้นทำให้เศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลง ประชาชนจึงปรับคาดการณ์เงินเฟ้อในระยะต่อไปลง
นายวิชญายุทธ กล่าวว่า สศช.ได้รายงานให้ที่ประชุมรับทราบสถานการณ์เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก รวมทั้งได้รายงานฉากทัศน์ (Scenarios) 3 กรณีที่เกิดจากขึ้นจากความขัดแย้งของสถานการณ์การสู้รบระหว่างรัสเซียกับยูเครน และความขัดแย้งในภูมิภาคอื่นๆ
กรณีที่ 1
ซึ่งเป็นกรณีฐานที่ในปัจจุบันเราเชื่อว่าจะเป็นไปตามกรณีนี้ คือสงครามทางทหารระหว่างรัสเซีย ยูเครนยังเป็นไปอย่างต่อเนื่อง มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจยังคงระดับเดิมหรือเพิ่มระดับความรุนแรงอย่างช้าๆ โดยต่างฝ่ายต่างระมัดระวังผลกระทบจากมาตรการคว่ำบาตร (Sanction) และมาตรการตอบโต้ทางเศรษฐกิจ การทรงตัวหรือการเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ ของมาตรการ Sanction ในลักษณะดังกล่าวจะทำให้อุปสงค์และอุปทานน้ำมันดิบในตลาดโลกสามารถปรับตัวได้ทัน เช่นการลดการนำเข้าน้ำมันรัสเซีย แต่รัสเซียสามารถที่จะเปลี่ยนไปเป็นการส่งออกไปยังตลาดอื่นๆ โดยไม่ส่งผลให้อุปทานน้ำมันในตลาดโลกลดลง เช่นที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน
ในกรณีนี้ราคาน้ำมันในตลาดโลกจะค่อยๆ ลดลงในช่วงที่เหลือของปี ตามการปรับตัวของอุปทานน้ำมันในตลาดโลกที่สามารถ reallocate ได้ดี รวมทั้งการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และความวิตกกังวลต่อภาวะความถดถอยของประเทศเศรษฐกิจหลัก ส่วนราคา LNG ยังคงอยู่ในระดับสูงและยังมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น ก่อนที่จะเริ่มปรับคัวลดลงในปี 2566 ตามอุปทานที่น่าจะสามารถ reallocate ได้มากขึ้นตามลำดับรวมทั้งการสิ้นสุดลงของฤดูหนาวและเศรษฐกิจโลกที่จะเริ่มชะลอตัวชัดเจนมากขึ้น
ในด้านทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ และประเทศเศรษฐกิจหลัก (สหรัฐ แคนาดา สหราชอาณาจักร) ยังคงมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างน้อยที่สุดจนถึงสิ้นปีเพื่อลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อและสร้างความมั่นใจว่าอัตราเงินเฟ้อจะกลับเข้าสู่เป้าหมายของนโยบายการเงินในระยะยาว
ในภาพนี้ เศรษฐกิจโลกในปี 2565 จะขยายตัวสอดคล้องกับประมาณการของหน่วยงานต่างประเทศในปัจจุบัน และชะลอตัวลงอย่างชัดเจนในปี 2566 ตามการปรับทิศทางนโยบายการเงินและวัฎจักรของประเทศเศรษฐกิจหลักเป็นสำคัญ โดยอาจมีเศรษฐกิจหลักบางประเทศปรับตัวเข้าสู่ภาวะถดถอยเล็กๆ แต่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจทั้งปี 2565 – 2566 ไม่ถึงขั้นติดลบ อย่างไรก็ตามในกรณีนี้เศรษฐกิจโลกจะเริ่มฟื้นตัวดีขึ้นหลังปี 2566
เศรษฐกิจไทย ในภาพนี้เศรษฐกิจไทยยังขยายตัวได้สอดคล้องกับการประมาณการของหน่ายงานหลักด้านเศรษฐกิจ (สศช ธปท. สศค.) เงินเฟ้อค่อยๆ ปรับตัวลดลง ดุลบัญชีเดินสะพัดกลับมาเกินดุลอย่างช้าๆ ในปี 2566 โดย สศช.คาดว่าจีดีพีในปีนี้จะขยายตัวได้ในช่วง 2.5 – 3.5% ค่ากลางที่ 3%
กรณีที่ 2
เป็น Low case scenario สงครามทางทหารยังเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจและมาตรการตอบโต้ขยายขอบเขตเพิ่มเติมจนทำให้อุปสงค์และอุปทานน้ำมันดิบและสินค้าสำคัญอื่นๆ ในตลาดโลกไม่สามารถปรับตัวได้ทัน
ในกรณีนี้ราคาน้ำมันและราคาสินค้าสำคัญๆ ในตลาดโลกจะค่อยๆ กลับมาปรับตัวเพิ่มขึ้นอีกครั้งในช่วงที่เหลือของปี ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ และประเทศเศรษฐกิจหลักยังมีความจำเป็นที่จะต้องปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยมากกว่าในกรณีแรก ก่อนที่จะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงในปีหน้าตามการเพิ่มขึ้นของสัญญาณความเสี่ยงต่อ Recession
ในภาพนี้เศรษฐกิจโลกปี 2566 มีแนวโน้มที่จะขยายตัวต่ำกว่ากรณีแรก (ขึ้นอยู่กับสินค้าและมาตรการที่นำมาตอบโต้กัน) ในกรณีนี้เศรษฐกิจยูโซโซน สหราชอาณาจักร และสหรัฐฯ มีความเสี่ยงและสัญญาณการเข้าสู่ Recession มากขึ้นซึ่งจะส่งผลให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกในปี 2566 ปรับตัวลดลงมากกว่ากรณีแรก
ในกรณีนี้เศรษฐกิจไทย ปี 2565 และ 2566 ขยายตัวต่ำกว่ากรณีแรก อัตราเงินเฟ้อปี 2565 สูงกว่ากรณีแรกเล็กน้อย ก่อนที่จะลดลงมากหรือมีเงินเฟ้อติดลบในปี 2566 ในขณะที่ดุลเดินสะพัดกลับมาเกินดุลมากกว่าในกรณีแรก
กรณีที่ 3
เป็น Worst case scenario ซึ่งยังมีความเป็นไปได้น้อยแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นไปไม่ได้โดยสิ้นเชิง โดยเฉพาะภายใต้สถานการณ์ที่ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ กับจีนมีความชัดเจนมากขึ้น โดยในกรณีนี้ เป็นกรณีที่ความขัดแย้งขยายขอบเขต เริ่มมีการแบ่งขั้วอำนาจออกจากกันและแต่ละขั้วร่วมมือกันอย่างชัดเจนมากขึ้นระหว่างขั้วที่มีสหรัฐและพันธมิตรเป็นแกนนำ และระหว่างขั้วอำนาจที่มีรัสเซียและจีนเป็นแกนนำ ในกรณีนี้ ปัญหาจะมีความสลับซับซ้อนมากขึ้นและมีแนวโน้มที่จะทำให้เศรษฐกิจโลกถดถอยในระยะแรก และขยายตัวในเกณฑ์ต่ำสลับกับ recession เป็นระยะๆ ตามความรุนแรงของมาตรการตอบโต้ระหว่าง 2 ขั้วเศรษฐกิจหลักและการเพิ่มขึ้นของความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์
ในกรณีนี้ ราคาพลังงาน ราคาอาหาร และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ จะปรับตัวเพิ่มขึ้นและอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง เริ่มมีการขาดแคลนพลังงานและอาหาร รวมทั้งสินค้าสำคัญๆ ในตลาดโลกอย่างชัดเจน เศรษฐกิจของประเทศเศรษฐกิจหลักและเศรษฐกิจโลกในภาพรวมในระยะสั้นจะหดตัวชัดเจนและรุนแรง และขยายตัวในเกณฑ์ต่ำสลับกับภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ เป็นระยะๆ ตลอดหลายปีข้างหน้า ตามความรุนแรงของมาตรการตอบโต้ระหว่าง 2 ขั้วเศรษฐกิจหลักและการเพิ่มขึ้นของความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจะส่งผลกระทบต่อการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ รวมทั้งการแบ่งขั้วทางเศรษฐกิจที่เป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลกในระยะยาว ในขณะที่ราคาน้ำมัน อัตราเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยในตลาดโลกไม่สามารถปรับตัวลดลงหรือเข้าสู่ stagflation คล้ายๆ กับในช่วงปี 1970 – 1980
สำหรับในกรณีนี้เศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบรุนแรง เนื่องจากเศรษฐกิจไทยพึ่งพิงและมีความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจเศรษฐกิจโลกสูง (การค้า การท่องเที่ยว การลงทุน ห่วงโซ่การผลิต ตลาดทุน การพึ่งพิงพลังงาน) อัตราเงินเฟ้อทรงตัวในระดับสูง ในขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลต่อเนื่องและการขาดดุลการคลังกว้างขึ้นและทำให้แรงกดดันจากปัญหาการขาดดุลแฝดรุนแรงมากขึ้น
ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1020452
หลังจากได้ทราบแล้วว่าภาวะเงินเฟ้อคืออะไร บทความนี้เราจะมาเรียนรู้ผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อ ว่าส่งผลกระทบต่อประชาชน นักลงทุนและประเทศชาติอย่างไรบ้าง
ผลกระทบจากเงินเฟ้อ
ผลต่อประชาชนทั่วไป
รายจ่ายหรือภาระค่าครองชีพสูงขึ้น ทำให้ประชาชนมีอำนาจซื้อน้อยลง มีความสามารถจับจ่ายซื้อสินค้าและบริการได้น้อยลง และอาจทำให้รายได้ที่มีหรือเงินที่หามาได้ไม่เพียงพอกับการยังชีพ
อัตราเงินเฟ้อยิ่งสูง จะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยที่หักเงินเฟ้อออก หรือที่เรียกว่า อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง จะมีค่าลดลงไป เนื่องจากดอกเบี้ยที่เราได้รับเอาไปใช้ซื้อของได้น้อยลง
ยกตัวอย่าง กรณีที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ที่ร้อยละ 1.5 ต่อปีแต่หากอัตราเงินเฟ้อหรือราคาเพิ่มขึ้นมาร้อยละ 1 อาจกล่าวได้ว่าอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงหรือผลตอบแทนสุทธิที่ได้รับจริงๆ อยู่ที่ร้อยละ 0.5 ต่อปีเท่านั้น
แต่หากปีต่อไป อัตราดอกเบี้ยเงินฝากยังเท่าเดิม แต่อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นไปอยู่ที่ร้อยละ 2 อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงจะกลายเป็นร้อยละ - 0.5 ต่อปี ซึ่งถือว่ากำลังซื้อของผู้ฝากเงินลดลง
การฝากเงินทำให้ได้รับผลตอบแทนจริงๆ ติดลบ ทำให้ผู้ฝากไม่อยากออมเงิน และอาจหันไปลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า เช่น ทองคำ อสังหาริมทรัพย์และหุ้น เป็นต้น ทำให้ต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่สูงขึ้นด้วย หากไม่มีความรู้เพียงพอในการบริหารจัดการ ก็อาจทำให้เกิดเป็นภาระหนี้สินได้
ผลต่อผู้ประกอบการ / นักธุรกิจ
เมื่อสินค้ามีราคาแพงขึ้น ยอดขายก็จะลดลง ในขณะเดียวกัน ต้นทุนการผลิตก็จะสูงขึ้นด้วย ส่งผลให้เจ้าของธุรกิจบางรายอาจตัดสินใจชะลอการผลิต ลดการลงทุนและการจ้างงาน ทำให้คนตกงานมากขึ้น
ความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจในประเทศลดลง เนื่องจากราคาสินค้าส่งออกของเราจะสูงขึ้นเมื่อเทียบกับราคาสินค้าออกของประเทศอื่นๆ
ผลต่อประเทศ
ในภาวะที่ประชาชนซื้อของน้อยลง ธุรกิจไม่สามารถขายของได้ การลงทุนเพื่อผลิตสินค้าก็จะชะลอออกไป ทำให้การพัฒนาศักยภาพการผลิตของประเทศในระยะยาวอาจชะลอลงตามไปด้วย
ถ้าอัตราเงินเฟ้อสูงจนทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบนานๆ ประชาชนก็จะหันไปเก็งกำไรในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง สะสมปัญหาฟองสบู่ในสินทรัพย์ต่างๆ (asset price bubble) และความไม่สมดุลในภาคการเงินของประเทศได้เช่น หนี้ครัวเรือน
หลังจากได้ยินข่าวเรื่องภาวะเงินเฟ้อกันมาสักพักตั้งแต่ต้นปีและธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ก็ได้มีการทยอยปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเพื่อรับมือกับภาวะเงินเฟ้อในประเทศ
มาดูสรุปกันว่าปัจจุบันแต่ละประเทศปรับขึ้นดอกเบี้ยกันไปเท่าไรแล้วบ้าง นับจากต้นปี 2022 ตามตารางนี้ครับ
เงินเฟ้อ คืออะไร
ภาวะเงินเฟ้อ หมายถึง ภาวะที่ราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งหากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นมากจะกระทบต่อฐานะและความเป็นอยู่ของประชาชน
ทั้งนี้ จึงจำเป็นต้องมีหน่วยงานทำหน้าที่ควบคุมดูแลเรื่องเงินเฟ้อ คือ
1. กระทรวงพาณิชย์
2. ธนาคารแห่งประเทศไทย
1. กระทรวงพาณิชย์
ส่วนหนึ่งคือการดูแลราคาสินค้าและบริการไม่ให้ผู้ประกอบการฉวยโอกาสหรือเอาเปรียบผู้บริโภค หรือตรึงราคาไว้ในช่วงที่สินค้าขาดแคลนระยะสั้น นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ติดตามรวบรวมข้อมูลราคาสินค้าและบริการที่ผู้บริโภคซื้อเป็นประจำทุกวันจากตลาดและแหล่งจำหน่ายต่างๆ ทั่วประเทศ นำมาคำนวณจัดทำเป็นดัชนี ที่เรียกว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนทราบภาวะเงินเฟ้อสามารถวัดได้จากการเปลี่ยนแปลงของดัชนีดังกล่าว ซึ่งเรียกตัวชี้วัดนี้ว่า อัตราเงินเฟ้อ
2. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
ดำเนินนโยบายการเงินผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อดูแลเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำและไม่ผันผวน ซึ่งเอื้อต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนในระยะยาว และความกินดีอยู่ดีของประชาชน
เงินเฟ้อ เกิดจากอะไร
สาเหตุการเกิดเงินเฟ้อแบ่งได้เป็น 2 สาเหตุหลัก ๆ คือ
1. ประชาชนต้องการซื้อสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น (เรียกว่า Demand – Pull Inflation) ประกอบกับสินค้าและบริการนั้นๆ ในตลาดมีไม่เพียงพอ ทำให้ผู้ขายปรับราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น
2. ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น (เรียกว่า Cost – Push Inflation) กล่าวคือ หากผู้ผลิตไม่สามารถ แบกรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้นได้ จะทำให้ผู้ผลิตต้องปรับราคาสินค้าและบริการให้สูงขึ้นด้วย
เงินเฟ้อกับเงินฝืดต่างกันอย่างไร
ตรงกันข้ามกับภาวะเงินเฟ้อ ภาวะเงินฝืดเกิดขึ้นเมื่อระดับราคาสินค้าและบริการลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยมีสาเหตุหลายประการ เช่น ความต้องการซื้อสินค้าและบริการของประชาชนลดลง หรือ ปริมาณเงินที่หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ มีไม่เพียงพอกับความต้องการ ซึ่งอาจทำให้ราคาสินค้าปรับลดลง ผู้ผลิตก็อาจไม่ต้องการผลิตสินค้าและบริการในปริมาณเท่าเดิม ทำให้ลดกำลังการผลิตลง และส่งผลให้เศรษฐกิจซบเซาในที่สุด
จะเห็นได้ว่า ทั้งภาวะเงินเฟ้อและเงินฝืด เกิดจากการเคลื่อนไหวขึ้นลงของเศรษฐกิจตามวัฏจักร แต่หากมีความรุนแรงและยืดเยื้อ ก็ล้วนส่งผลเสียต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและความกินดีอยู่ดีของประชาชนด้วยกันทั้งสิ้น
บทความต่อไปมาเรียนรู้ผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อ ว่าจะส่งผลอย่างไรบ้างต่อประชาชนทั่วไป นักลงทุน รวมถึงประเทศชาติ
ที่มา: https://www.bot.or.th
"การซื้อหุ้นนั้นง่าย แต่การขายหุ้นนั้นกลับทำยาก" คำนี้ยังเป็นคำกล่าวคลาสสิคเสมอในการขายหุ้น ไม่ว่าจะเมื่อได้กำไรหรือขาดทุน การจะตัดใจขายนั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ยากรวมถึงผู้เขียนเองด้วย ส่วนหนึ่งก็เนื่องมาจากหากเราได้กำไรอยู่ก็จะไม่อยากขายเพราะกลัวจะขายหมู แต่เมื่อถือต่อไปกลับพบว่าราคาตกลงมาจนกำไรลดลง หรือบางครั้งกลับมาเท่าทุนก็มี ส่วนกรณีขาดทุนอยู่อันนี้ยิ่งไม่อยากขาย ด้วยความหวังว่ามันจะกลับมาดีที่เดิมหรือได้กำไรบ้าง แต่จนแล้วจนรอดกลับกลายเป็นขาดทุนเพิ่มขึ้นก็มี
นี่เป็นไกด์ไลน์ส่วนหนึ่งสำหรับพิจารณาขายหุ้นสำหรับท่านนักลงทุนมือใหม่ที่ยังไม่แน่ใจว่าเมื่อไรจะขายดี ลองนำไปปรับใช้ดูครับ
สรุปรายชื่อหุ้น IPO ในปี 2021 (พ.ศ. 2565)
หลักทรัพย์ | กลุ่มอุตสาหกรรม | มูลค่าระดมทุน (ล้านบาท) | มูลค่าเสนอขาย (ล้านบาท) | มูลค่าหลักทรัพย์ (ล้านบาท) | ราคา เสนอขาย | ราคาปิด | % เปลี่ยนแปลง | วันที่ |
SNNP | AGRO | 2,208.00 | 2,208.00 | 8,832.00 | 9.2 | 10.4 | 13.04 | 20 ก.ค. 2564 |
NSL | AGRO | 900 | 900 | 3,600.00 | 12 | 13.7 | 14.17 | 19 พ.ค. 2564 |
TFM | AGRO | 1,215.00 | 1,475.55 | 6,750.00 | 13.5 | 14.5 | 7.41 | 29 ต.ค. 2564 |
WINMED | CONSUMP | 372 | 372 | 1,240.00 | 3.1 | 5.9 | 90.32 | 11 พ.ค. 2564 |
NV | CONSUMP | 1,035.00 | 1,035.00 | 4,140.00 | 6.9 | 6 | -13.04 | 24 ธ.ค. 2564 |
JP | CONSUMP | 805 | 805 | 3,185.00 | 7 | 10.3 | 47.14 | 02 พ.ย. 2564 |
SMD | CONSUMP | 388.8 | 388.8 | 1,540.80 | 7.2 | 9.2 | 27.78 | 17 มิ.ย. 2564 |
WFX | CONSUMP | 1,022.40 | 1,022.40 | 3,342.24 | 7.2 | 8.45 | 17.36 | 23 ธ.ค. 2564 |
KISS | CONSUMP | 540 | 1,373.77 | 5,400.00 | 9 | 14 | 55.56 | 19 ก.พ. 2564 |
HENG | FINCIAL | 1,561.63 | 1,561.63 | 7,429.50 | 1.95 | 2.86 | 46.67 | 19 ต.ค. 2564 |
TQR | FINCIAL | 306 | 306 | 1,173.00 | 5.1 | 15.3 | 200 | 17 ก.พ. 2564 |
TIDLOR | FINCIAL | 7,694.81 | 38,089.31 | 84,642.94 | 36.5 | 45.75 | 25.34 | 10 พ.ค. 2564 |
PACO | INDUS | 364 | 364 | 1,400.00 | 1.4 | 3.98 | 184.29 | 22 มี.ค. 2564 |
TRV | INDUS | 125.5 | 125.5 | 483 | 2.3 | 4.2 | 82.61 | 02 ธ.ค. 2564 |
JAK | PROPCON | 119.93 | 119.93 | 464 | 1.45 | 2.02 | 39.31 | 18 ม.ค. 2564 |
PROS | PROPCON | 280 | 280 | 1,080.00 | 2 | 3.36 | 68 | 27 เม.ย. 2564 |
STECH | PROPCON | 565.73 | 565.73 | 2,015.50 | 2.78 | 3.28 | 17.99 | 23 ก.ค. 2564 |
PIN | PROPCON | 1,131.00 | 1,131.00 | 4,524.00 | 3.9 | 3.8 | -2.56 | 09 พ.ย. 2564 |
CPANEL | PROPCON | 237 | 237 | 900 | 6 | 7.3 | 21.67 | 30 ก.ย. 2564 |
DPAINT | PROPCON | 399.38 | 399.38 | 1,725.00 | 7.5 | 12.9 | 72 | 28 ต.ค. 2564 |
ASW | PROPCON | 2,022.92 | 2,022.92 | 7,473.02 | 9.82 | 9.85 | 0.31 | 28 เม.ย. 2564 |
INETREIT | PROPCON | 3,300.00 | 3,300.00 | 3,300.00 | 10 | 10 | 0 | 09 ส.ค. 2564 |
KTBSTMR | PROPCON | 3,015.00 | 3,015.00 | 3,015.00 | 10 | 9.95 | -0.5 | 15 พ.ย. 2564 |
GROREIT | PROPCON | 3,150.00 | 3,150.00 | 3,150.00 | 10 | 10 | 0 | 21 ก.ค. 2564 |
BRI | PROPCON | 2,652.83 | 2,652.83 | 8,952.83 | 10.5 | 12.4 | 18.1 | 21 ธ.ค. 2564 |
UBE | RESOURC | 2,818.29 | 3,288.00 | 9,394.29 | 2.4 | 2.06 | -14.17 | 30 ก.ย. 2564 |
CV | RESOURC | 1,248.00 | 1,248.00 | 4,992.00 | 3.9 | 3.92 | 0.51 | 02 ก.ย. 2564 |
OR | RESOURC | 46,980.00 | 54,000.00 | 208,980.00 | 18 | 29.25 | 62.5 | 11 ก.พ. 2564 |
MENA | SERVICE | 220.8 | 220.8 | 880.8 | 1.2 | 2.48 | 106.67 | 07 ก.ค. 2564 |
SVT | SERVICE | 508 | 508 | 1,778.00 | 2.54 | 3.54 | 39.37 | 05 ต.ค. 2564 |
GLORY | SERVICE | 196 | 196 | 756 | 2.8 | 7.6 | 171.43 | 25 ต.ค. 2564 |
ONEE | SERVICE | 4,048.13 | 4,218.15 | 20,240.63 | 8.5 | 9.2 | 8.24 | 05 พ.ย. 2564 |
HL | SERVICE | 705.6 | 705.6 | 2,665.60 | 9.8 | 13 | 32.65 | 03 ธ.ค. 2564 |
ADD | SERVICE | 440 | 440 | 1,760.00 | 11 | 14.8 | 34.55 | 20 พ.ค. 2564 |
DMT | SERVICE | 2,240.00 | 2,240.00 | 18,899.72 | 16 | 15.9 | -0.62 | 07 พ.ค. 2564 |
PROEN | TECH | 279.5 | 279.5 | 1,027.00 | 3.25 | 8.35 | 156.92 | 29 เม.ย. 2564 |
AMR | TECH | 1,035.00 | 1,035.00 | 4,140.00 | 6.9 | 6.95 | 0.72 | 02 ส.ค. 2564 |
DITTO | TECH | 600 | 600 | 3,300.00 | 7.5 | 16 | 113.33 | 06 พ.ค. 2564 |
BE8 | TECH | 500 | 500 | 2,000.00 | 10 | 25.5 | 155 | 08 พ.ย. 2564 |
SECURE | TECH | 443.86 | 443.86 | 1,643.86 | 16 | 24.2 | 51.25 | 01 ก.ค. 2564 |
BBIK | TECH | 450 | 450 | 1,800.00 | 18 | 30 | 66.67 | 16 ก.ย. 2564 |
ขอขอบคุณ: https://www.set.or.th/th/market/statistics/market-statistics/ipo