แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ข่าวสารเพื่อการลงทุน แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ข่าวสารเพื่อการลงทุน แสดงบทความทั้งหมด

วันอาทิตย์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2566

สลากออมทรัพย์ 2 ปี ลุ้นรางวัลสูงสุด 60 ล้านบาท


เปรียบเทียบสลากออมทรัพย์จาก ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธ.อ.ส.) 

วันเสาร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2566

วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2566

วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2565

ดอกเบี้ยขาขึ้นส่งผลกระทบธุรกิจใดบ้าง

เงินเฟ้อไทยที่เร่งตัวต่อเนื่องทำให้ ธปท. จำเป็นต้องดำเนินนโยบายการเงินตึงตัวมากขึ้น แต่ด้วยเศรษฐกิจไทยที่ยังคงเปราะบาง การดำเนินนโยบายจึงมีความท้าทายอย่างมาก ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ให้น้ำหนักต่อการรักษาเสถียรภาพด้านราคาเป็นสำคัญ การดำเนินนโยบายการเงินในระยะต่อไปจึงมีแนวโน้มตึงตัวมากขึ้น

แต่การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในภาวะที่เศรษฐกิจยังคงอ่อนแออาจยิ่งซ้ำเติมให้เกิดความเสี่ยงต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ แม้การขึ้นดอกเบี้ยนโยบายจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของทั้งภาคธุรกิจและครัวเรือนแต่รายได้กลับลดลงรุนแรงกว่า จึงคาดว่า ธปท. จะใช้แนวทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างค่อยเป็นค่อยไปและมีเป้าหมายเพื่อลดเงินเฟ้อคาดการณ์เป็นหลัก เนื่องจากเศรษฐกิจไทยเพิ่งเริ่มฟื้นจากวิกฤตโควิด-19 และยังไม่กลับไปสู่ระดับก่อนเกิดการระบาด

ภาวะตลาดแรงงานยังคงอ่อนแอและภาระหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง การใช้นโยบายการเงินตึงตัวเพื่อควบคุมเงินเฟ้อในภาวะเช่นนี้ อาจสร้างคำถามถึงความพร้อมและความ เหมาะสมของนโยบายที่ควรจะเป็น ซึ่งเป็นความท้าทายอย่างมาก 

ในส่วนของอัตราเงินเฟ้อจะไม่คงอยู่ในระดับสูงเป็นระยะเวลานาน การขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะเงินเฟ้อฝังลึก (Wage-price spiral) ที่จะทำให้อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวสูงจนยากต่อการควบคุม

ศูนย์วิจัยอีไอซี (EIC หรือ Economic Intelligence Center) ของ ธนาคารไทยพาณิชย์  จึงคาดว่า กนง. จะขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 2 ครั้งในช่วงครึ่งหลังของปีนี้เพื่อเป็นการส่งสัญญาณควบคุมเงินเฟ้อ

การขึ้นดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไปและต่อเนื่อง (ขึ้น 2 ครั้งในปี 2022 และอีก 2 ครั้งในช่วงครึ่งแรกของปี 2023 คราวละ 0.25% หรือเฉลี่ยไตรมาส ละ 1 ครั้ง) สามารถลดเงินเฟ้อคาดการณ์ได้ดีที่สุด โดยไม่สร้างแรงกดดันต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยมากจนเกินไป ดังนั้น การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2 ครั้งในปีนี้จึงเพียงพอและเหมาะสมในการส่งสัญญาณควบคุมเงินเฟ้อคาดการณ์ ท่ามกลางความเสี่ยงในระบบเศรษฐกิจที่อยู่ในระดับสูง


ผลกระทบโดยตรงผ่านการขึ้นดอกเบี้ย

  • การลงทุน ผู้ประกอบการมีแนวโน้มลงทุนน้อยลง ตามต้นทุนกู้ยืมที่สูงขึ้น และโอกาสการผิดนัดชำระหนี้เพิ่มขึ้น
  • การบริโภค ภาระหนี้และค่าใช้จ่ายด้านดอกเบี้ยสูงขึ้นทำให้บริโภคได้น้อยลง ผู้บริโภคบางส่วนหันไปออมเงินมากขึ้นและเลื่อนการบริโภคออกไป ราคาตราสารหนี้และตราสารทุนที่มีแนวโน้มลดลงยังทำให้ความมั่งคั่ง ของประชาชนลดลง wealth effect) จึงบริโภคลดลง

อัตราแลกเปลี่ยนแข็งค่าขึ้น

  • ราคาสินค้านำเข้า ราคาสินค้านำเข้าโดยเฉพาะกลุ่มพลังงานปรับลดลง ช่วยทำให้แรงกดดันเงินเฟ้อในประเทศลดลงตาม
  • การส่งออก เงินบาทแข็งค่าขึ้น ทำให้ผู้ส่งออกไทยเสียเปรียบในการแข่งขันด้านราคา  จึงทำให้แนวโน้มส่งออกชะลอลง 


คาดการณ์เงินเฟ้อในระยะต่อไป 

ดอกเบี้ยสูงขึ้นทำให้เศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลง ประชาชนจึงปรับคาดการณ์เงินเฟ้อในระยะต่อไปลง

การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายกระทบต่อการฟื้นตัวของภาคธุรกิจแตกต่างกัน

กำไรของภาคการผลิตและภาคบริการมีแนวโน้มลดลงรุนแรงกว่าภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน สาเหตุหลักมาจากรายได้ที่ลดลงกดดันรายจ่ายภาคเอกชน โดยเฉพาะในหมวดสินค้าคงทน ซึ่งทุกอุตสาหกรรม (ยกเว้นการบริหารราชการ) คาดว่า จะได้รับผลเชิงลบจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบรุนแรงสูงสุด  ได้แก่ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจประกันภัย  ธุรกิจการค้า อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และธุรกิจการจัดการน้ำ

ธุรกิจที่มีภาระดอกเบี้ยสูง เช่น ธุรกิจที่พักแรม ธุรกิจบันเทิงและนันทนาการ และธุรกิจการศึกษา ถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงมาก

หากอัตราดอกเบี้ยนโยบายสูงขึ้น เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นจะเพิ่มภาระหนี้ธุรกิจและลดความสามารถในการชำระหนี้ จากข้อมูลของกรมธุรกิจการค้า EIC ประเมินความเสี่ยงต่อภาระหนี้ของภาคธุรกิจโดยใช้ความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย ภาระดอกเบี้ยต่อทรัพย์สิน และสัดส่วนหนี้ต่อสินทรัพย์จากข้อมูลทางการเงินรายบริษัทในปี 2020 พบว่า ธุรกิจที่พักแรม ธุรกิจบันเทิงและนันทนาการ ธุรกิจการศึกษา ถือเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงต่อภาระหนี้สูงที่สุด  

ธุรกิจบันเทิงและนันทนาการ เป็นธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายรุนแรงที่สุด ทั้งจากความเสี่ยงต่อภาระหนี้สูงและความสามารถในการทำกำไรที่ลดลง

แม้การดำเนินนโยบายการเงินที่ตึงตัวช่วยลดแรงกดดันด้านราคาได้ แต่ก็ส่งผลให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจปรับชะลอลงเช่นกัน โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังไม่แข็งแกร่งนัก การขึ้นดอกเบี้ยจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยง (Downside risks) ส่งผลต่อแนวโน้มการฟื้นตัวในระยะต่อไป และหากการดำเนินนโยบายตึงตัวเร็วเกินไป ยิ่งอาจทำให้เศรษฐกิจมีความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) มากขึ้น ผู้ดำเนินนโยบายจึงจำเป็นต้องเปรียบเทียบผลกระทบจากดอกเบี้ยที่สูงขึ้นอย่างถี่ถ้วน และชั่งน้ำหนักว่าจะให้ความสำคัญต่ออัตราเงินเฟ้อ (เสถียรภาพด้านราคา) หรืออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (เสถียรภาพเศรษฐกิจ) มากกว่ากัน

วันพุธที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2565

เปรียบเทียบการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางแต่ละประเทศ ปี 2022

หลังจากได้ยินข่าวเรื่องภาวะเงินเฟ้อกันมาสักพักตั้งแต่ต้นปีและธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ก็ได้มีการทยอยปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเพื่อรับมือกับภาวะเงินเฟ้อในประเทศ

มาดูสรุปกันว่าปัจจุบันแต่ละประเทศปรับขึ้นดอกเบี้ยกันไปเท่าไรแล้วบ้าง นับจากต้นปี 2022 ตามตารางนี้ครับ


ที่มา: Central banks, Nikkei Asia research 

วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

มาดูกันหุ้นตัวไหนบ้างที่คาดว่าจะมีสินค้าผลิตจากกัญชาและกัญชง

ภายหลังจากรัฐบาลประกาศกฎหมายรองรับสินค้าที่มีส่วนผสมของกัญชาและกัญชง ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 30 ธ.ค. 2563 อนุญาตให้นำกัญชงไปใช้เชิงพาณิชย์ได้ มีผลบังคับใช้วันที่ 29 ม.ค. 2564 เป็นต้นไป

มาดูกันว่ากลุ่มธุรกิจไหนบ้างที่คาดว่าจะได้รับอานิสงส์และคาดว่าจะมีสินค้าที่ผลิตจากกัญชาและกัญชงออกสู่ตลาดครับ


ขอขอบคุณ: https://www.bangkokbiznews.com

บทความที่น่าสนใจ