แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ความรู้การลงทุน แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ความรู้การลงทุน แสดงบทความทั้งหมด

วันอาทิตย์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2566

โครงสร้างผู้ถือหุ้นในตลาดหุ้นไทย สิงหาคม 2566

- นักลงทุนต่างประเทศ ใช้ข้อมูลตามที่นักลงทุนระบุในฐานข้อมูลนักลงทุน หากนักลงทุนต่างประเทศลงทุนผ่านทางประเทศอื่น หรือ หลักทรัพย์อยู่ภายใต้ผู้เก็บรักษาทรัพย์สิน (custodian/trustee) ในประเทศอื่น ทำให้ฐานข้อมูลนักลงทุนมีความคลาดเคลื่อนจากสัญชาติที่แท้จริงของนักลงทุนได้

- บริษัทหลักทรัพย์

- นักลงทุนสถาบันในประเทศ

- นักลงทุนในประเทศ นักลงทุนรายย่อย นิติบุคคล

- สิ้นเดือนสิงหาคม 2566 มี 795 บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ มูลค่ารวมกันกว่า 19.26 ล้านๆ บาท

- ต่างชาติมีการถือครองหุ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 5.87 ล้านล้านบาท คิดเป็น 30.50% ของมูลค่ารวมทั้งตลาด

- อังกฤษ สิงคโปร์และฮ่องกง มีการถือครองมูลค่าหุ้นไทยสูงสุด 3 อันดับแรก ในขณะที่สหรัฐอเมริกาอยู่อันดับ 5

วันอาทิตย์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2566

หลักพิจารณาเบื้องต้นก่อนการซื้อหุ้น

การเคาะซื้อหุ้นย่อมเป็นเรื่องง่ายยิ่งกว่าปอกกล้วยเข้าปาก แต่ซื้อมาแล้วชีวิตจะยากหรือเปล่านั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง

หลายครั้งเราจะพบหุ้นที่น่าสนใจแต่ไม่กล้าเข้าซื้อ ด้วยเหตุผลต่างๆ นาๆ ดังนั้น บทความนี้จะรวบรวมข้อคิดและหลักการเบื้องต้น ก่อนตัดสินใจเข้าซื้อหุ้น เป้าหมายเพื่อลดความเสี่ยงทั้งในด้านการขาดทุนและในด้านการเสียโอกาสเข้าซื้อ

  1. อย่ายึดติดกับราคาว่าหุ้นขึ้นมามากแล้วเท่าไร แต่ให้ยึดติดกับการพิจารณาว่าราคาจะไปได้อีกเท่าไร
  2. อย่าซื้อหุ้นที่ไม่รู้จัก ไม่มีความชำนาญ แม้ว่าราคาจะน่าสนใจเท่าไร จนกว่าคุณจะทำความเข้าใจและรู้จักวิถีของหุ้นตัวนั้นดีพอ บ่อยครั้งที่อาจจะมีคนพูดถึงหรือแนะนำหุ้นตัวใดตัวหนึ่งมาแต่ถ้าเราไม่ได้ทำการบ้านอย่างจริงจังในหุ้นตัวนั้นๆ ก็อาจมีโอกาสสูงที่จะมีความเสียหายจากการเชื่อคนอื่นโดยง่าย
  3. อย่าซื้อหุ้นที่เพิ่งติดเรดาห์ของคุณเข้ามา แล้วต้องรีบตัดสินใจเพราะกลัวตกรถ เพราะหุ้นที่ดีจริงจะไม่ได้มีพฤติกรรมที่ต้องรีบเร่งในการเข้าซื้อขนาดนั้น
  4. วิเคราะห์หุ้นตามแบบคัดกรองหุ้นจากหนังสือศาสตร์แห่ง Buffett 2
  5. ตรวจสอบประวัติหุ้น เช่น ประวัติการผิดนัดชำระหุ้นกู้ ประวัติผู้บริหาร

วิเคราะห์หุ้นตามแบบคัดกรองหุ้นจากหนังสือศาสตร์แห่ง Buffett 2

วิเคราะห์หุ้นตามแบบคัดกรองหุ้นจากหนังสือศาสตร์แห่ง Buffett 2
  1. เป็นบริษัทที่ขายสินค้าหรือบริการที่เป็นแบรนด์ดัง ซึ่งน่าจะได้เปรียบทางการแข่งขันที่ยั่งยืนหรือขายสินค้าหรือบริการที่แข่งขันกันด้วยราคา
  2. คุณเข้าใจกลไกการทำงานของสินค้าและบริการของธุรกิจหรือไม่
  3. บริษัทมีรายได้และกำไรแข็งแกร่ง มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นหรือไม่
  4. บริษัทจัดสรรเงินทุนไปใช้ในธุรกิจที่บริษัทเชี่ยวชาญเท่านั้นหรือไม่
  5. บริษัทมีการซื้อหุ้นคืนหรือไม่ หรือมีการเพิ่มทุน
  6. บริษัทนำกำไรสะสมไปลงทุนเพื่อทำให้กำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้นและมูลค่าผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้นตามหรือไม่
  7. ผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหรือไม่
  8. บริษัทปรับราคาสินค้าได้อย่างอิสระตามอัตราเงินเฟ้อหรือไม่
  9. บริษัทจำเป็นต้องใช้เงินลงทุนก้อนใหญ่เพื่อปรับปรุงโรงงานหรือเครื่องจักรเรื่อยๆ หรือไม่
  10. กำไรสุทธิจะให้หนี้หมดภายในเวลากี่ปี
วิเคราะห์เพิ่มเติม
  1. เงินปันผลเป็นอย่างไร สม่ำเสมอหรือไม่ มีโอกาสเพิ่มขึ้นหรือลดหรือไม่
  2. ต้องพึ่งพาลูกค้าเพียงรายเดียวหรือไม่
  3. ความเสี่ยงมีอะไรบ้าง

วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

รวมคำศัพท์การลงทุน

รวมรวมคำศัพท์การลงทุน พร้อมตัวอย่างอธิบาย


EBITDA: EARNINGS BEFORE INTEREST, TAXES, DEPRECIATION AND AMORTIZATION
กำไรก่อนดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย

EBITDA เป็นตัวเลขวัดความสามารถในการทำกำไรจากการดำเนินงานของบริษัท ซึ่งไม่รวมผลกระทบจากต้นทุนทางการเงิน นโยบายทางการบัญชีเและภาษี เป็นตัววัดที่ตรงไปตรงมา เหมาะสำหรับใช้ในการวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไรระหว่างกิจการหรือระหว่างอุตสาหกรรมได้เป็นอย่างดี เช่น อัตราส่วน EBITDA ต่อยอดขาย ถ้าอัตราส่วนนี้ยิ่งสูง ยิ่งบ่งบอกถึงความสามารถในการทำกำไรที่มาก

มีสูตรการคำนวณดังนี้ 
EBITDA = รายได้ - ค่าใช้จ่าย (ไม่รวมดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย)

กำไรขั้นต้น คือ



วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2565

การตรวจสอบสถานะหุ้นกู้

ความกังวลในช่วงเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวกลับ หรือมีแนวโน้มจะแย่จากภาวะเศรษฐกิจสหรัฐจะเข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession) จึงห่วงว่า

บริษัทต่าง ๆ อาจจะเห็นการผิดนัดชำระหนี้หุ้นกู้เพิ่มขึ้น แต่ทางสมาคมเห็นบริษัทผู้ออกหุ้นกู้ของไทยจะใช้วิธีการไปพูดคุยกับทางเจ้าหนี้ผู้ถือหุ้นกู้ เพื่อขอเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ เช่น ยืดชำระหนี้หุ้นกู้ออกไป ทั้งโดยที่มีการขอจ่ายดอกเบี้ยเพิ่ม หรือไม่จ่ายดอกเบี้ยเพิ่มก็ตาม

โดยทางสมาคมจะขึ้นเครื่องหมายหุ้นกู้ลักษณะนี้ว่า Restructure: RS แต่การจะขึ้นเครื่องหมายได้จะต้องขอมติอนุมัติไม่ต่ำกว่า 3 ใน 4 จากผู้ถือหุ้นกู้ก่อน และผู้ถือหุ้นกู้เองจะต้องพิจารณาว่าบริษัทอาจจะไม่ได้มีเจตนาเบี้ยวหนี้ แต่ด้วยผลกระทบโควิด-19 ที่กระทบกระแสเงินสดของกิจการไม่เหมือนเดิม ซึ่งที่ผ่านมาก็เห็นหลายบริษัทที่ยืดชำระหนี้ออกไปก็กลับมาจ่ายคืนได้หมด จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ไม่ค่อยเห็นการผิดนัดชำระหนี้ที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน

ส่วนหุ้นกู้ที่มีผิดนัดชำระหนี้จริง ทางสมาคมจะขึ้นเครื่องหมายหุ้นกู้ลักษณะนี้ว่า Default Payment: DP ซึ่งเป็นหุ้นกู้ที่มีปัญหาจริง ๆ ในเรื่องของการบริหารกิจการ

หมายเหตุ

Default Payment คือ

1.ผู้ออกตราสารหนี้ไม่สามารถชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ย ซึ่งถือเป็นเหตุผิดนัดตามข้อกำหนดสิทธิ

2.ผู้ออกตราสารหนี้ไม่สามารถชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ย เนื่องจากอยู่ในสภาวะพักการชำระหนี้ (Automatic stay)

3.สมาคมได้รับแจ้งจากผู้ออกตราสารหนี้ หรือผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ว่ามีเหตุผิดนัดตามข้อกำหนดสิทธิเกิดขึ้น ซึ่งรวมถึงเหตุผิดนัดเนื่องจาก Cross default 

ลิงค์สำหรับการตรวจสอบสถานะหุ้นกู้
https://www.thaibma.or.th/EN/BondInfo/EventSignBond/EventSignBondDetail.aspx

วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2565

ดอกเบี้ยขาขึ้นส่งผลกระทบธุรกิจใดบ้าง

เงินเฟ้อไทยที่เร่งตัวต่อเนื่องทำให้ ธปท. จำเป็นต้องดำเนินนโยบายการเงินตึงตัวมากขึ้น แต่ด้วยเศรษฐกิจไทยที่ยังคงเปราะบาง การดำเนินนโยบายจึงมีความท้าทายอย่างมาก ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ให้น้ำหนักต่อการรักษาเสถียรภาพด้านราคาเป็นสำคัญ การดำเนินนโยบายการเงินในระยะต่อไปจึงมีแนวโน้มตึงตัวมากขึ้น

แต่การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในภาวะที่เศรษฐกิจยังคงอ่อนแออาจยิ่งซ้ำเติมให้เกิดความเสี่ยงต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ แม้การขึ้นดอกเบี้ยนโยบายจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของทั้งภาคธุรกิจและครัวเรือนแต่รายได้กลับลดลงรุนแรงกว่า จึงคาดว่า ธปท. จะใช้แนวทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างค่อยเป็นค่อยไปและมีเป้าหมายเพื่อลดเงินเฟ้อคาดการณ์เป็นหลัก เนื่องจากเศรษฐกิจไทยเพิ่งเริ่มฟื้นจากวิกฤตโควิด-19 และยังไม่กลับไปสู่ระดับก่อนเกิดการระบาด

ภาวะตลาดแรงงานยังคงอ่อนแอและภาระหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง การใช้นโยบายการเงินตึงตัวเพื่อควบคุมเงินเฟ้อในภาวะเช่นนี้ อาจสร้างคำถามถึงความพร้อมและความ เหมาะสมของนโยบายที่ควรจะเป็น ซึ่งเป็นความท้าทายอย่างมาก 

ในส่วนของอัตราเงินเฟ้อจะไม่คงอยู่ในระดับสูงเป็นระยะเวลานาน การขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะเงินเฟ้อฝังลึก (Wage-price spiral) ที่จะทำให้อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวสูงจนยากต่อการควบคุม

ศูนย์วิจัยอีไอซี (EIC หรือ Economic Intelligence Center) ของ ธนาคารไทยพาณิชย์  จึงคาดว่า กนง. จะขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 2 ครั้งในช่วงครึ่งหลังของปีนี้เพื่อเป็นการส่งสัญญาณควบคุมเงินเฟ้อ

การขึ้นดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไปและต่อเนื่อง (ขึ้น 2 ครั้งในปี 2022 และอีก 2 ครั้งในช่วงครึ่งแรกของปี 2023 คราวละ 0.25% หรือเฉลี่ยไตรมาส ละ 1 ครั้ง) สามารถลดเงินเฟ้อคาดการณ์ได้ดีที่สุด โดยไม่สร้างแรงกดดันต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยมากจนเกินไป ดังนั้น การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2 ครั้งในปีนี้จึงเพียงพอและเหมาะสมในการส่งสัญญาณควบคุมเงินเฟ้อคาดการณ์ ท่ามกลางความเสี่ยงในระบบเศรษฐกิจที่อยู่ในระดับสูง


ผลกระทบโดยตรงผ่านการขึ้นดอกเบี้ย

  • การลงทุน ผู้ประกอบการมีแนวโน้มลงทุนน้อยลง ตามต้นทุนกู้ยืมที่สูงขึ้น และโอกาสการผิดนัดชำระหนี้เพิ่มขึ้น
  • การบริโภค ภาระหนี้และค่าใช้จ่ายด้านดอกเบี้ยสูงขึ้นทำให้บริโภคได้น้อยลง ผู้บริโภคบางส่วนหันไปออมเงินมากขึ้นและเลื่อนการบริโภคออกไป ราคาตราสารหนี้และตราสารทุนที่มีแนวโน้มลดลงยังทำให้ความมั่งคั่ง ของประชาชนลดลง wealth effect) จึงบริโภคลดลง

อัตราแลกเปลี่ยนแข็งค่าขึ้น

  • ราคาสินค้านำเข้า ราคาสินค้านำเข้าโดยเฉพาะกลุ่มพลังงานปรับลดลง ช่วยทำให้แรงกดดันเงินเฟ้อในประเทศลดลงตาม
  • การส่งออก เงินบาทแข็งค่าขึ้น ทำให้ผู้ส่งออกไทยเสียเปรียบในการแข่งขันด้านราคา  จึงทำให้แนวโน้มส่งออกชะลอลง 


คาดการณ์เงินเฟ้อในระยะต่อไป 

ดอกเบี้ยสูงขึ้นทำให้เศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลง ประชาชนจึงปรับคาดการณ์เงินเฟ้อในระยะต่อไปลง

การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายกระทบต่อการฟื้นตัวของภาคธุรกิจแตกต่างกัน

กำไรของภาคการผลิตและภาคบริการมีแนวโน้มลดลงรุนแรงกว่าภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน สาเหตุหลักมาจากรายได้ที่ลดลงกดดันรายจ่ายภาคเอกชน โดยเฉพาะในหมวดสินค้าคงทน ซึ่งทุกอุตสาหกรรม (ยกเว้นการบริหารราชการ) คาดว่า จะได้รับผลเชิงลบจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบรุนแรงสูงสุด  ได้แก่ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจประกันภัย  ธุรกิจการค้า อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และธุรกิจการจัดการน้ำ

ธุรกิจที่มีภาระดอกเบี้ยสูง เช่น ธุรกิจที่พักแรม ธุรกิจบันเทิงและนันทนาการ และธุรกิจการศึกษา ถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงมาก

หากอัตราดอกเบี้ยนโยบายสูงขึ้น เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นจะเพิ่มภาระหนี้ธุรกิจและลดความสามารถในการชำระหนี้ จากข้อมูลของกรมธุรกิจการค้า EIC ประเมินความเสี่ยงต่อภาระหนี้ของภาคธุรกิจโดยใช้ความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย ภาระดอกเบี้ยต่อทรัพย์สิน และสัดส่วนหนี้ต่อสินทรัพย์จากข้อมูลทางการเงินรายบริษัทในปี 2020 พบว่า ธุรกิจที่พักแรม ธุรกิจบันเทิงและนันทนาการ ธุรกิจการศึกษา ถือเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงต่อภาระหนี้สูงที่สุด  

ธุรกิจบันเทิงและนันทนาการ เป็นธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายรุนแรงที่สุด ทั้งจากความเสี่ยงต่อภาระหนี้สูงและความสามารถในการทำกำไรที่ลดลง

แม้การดำเนินนโยบายการเงินที่ตึงตัวช่วยลดแรงกดดันด้านราคาได้ แต่ก็ส่งผลให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจปรับชะลอลงเช่นกัน โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังไม่แข็งแกร่งนัก การขึ้นดอกเบี้ยจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยง (Downside risks) ส่งผลต่อแนวโน้มการฟื้นตัวในระยะต่อไป และหากการดำเนินนโยบายตึงตัวเร็วเกินไป ยิ่งอาจทำให้เศรษฐกิจมีความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) มากขึ้น ผู้ดำเนินนโยบายจึงจำเป็นต้องเปรียบเทียบผลกระทบจากดอกเบี้ยที่สูงขึ้นอย่างถี่ถ้วน และชั่งน้ำหนักว่าจะให้ความสำคัญต่ออัตราเงินเฟ้อ (เสถียรภาพด้านราคา) หรืออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (เสถียรภาพเศรษฐกิจ) มากกว่ากัน

วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2565

ผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อ

หลังจากได้ทราบแล้วว่าภาวะเงินเฟ้อคืออะไร บทความนี้เราจะมาเรียนรู้ผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อ ว่าส่งผลกระทบต่อประชาชน นักลงทุนและประเทศชาติอย่างไรบ้าง

ผลกระทบจากเงินเฟ้อ

ผลต่อประชาชนทั่วไป

รายจ่ายหรือภาระค่าครองชีพสูงขึ้น ทำให้ประชาชนมีอำนาจซื้อน้อยลง มีความสามารถจับจ่ายซื้อสินค้าและบริการได้น้อยลง และอาจทำให้รายได้ที่มีหรือเงินที่หามาได้ไม่เพียงพอกับการยังชีพ

อัตราเงินเฟ้อยิ่งสูง จะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยที่หักเงินเฟ้อออก หรือที่เรียกว่า อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง จะมีค่าลดลงไป เนื่องจากดอกเบี้ยที่เราได้รับเอาไปใช้ซื้อของได้น้อยลง

ยกตัวอย่าง กรณีที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ที่ร้อยละ 1.5 ต่อปีแต่หากอัตราเงินเฟ้อหรือราคาเพิ่มขึ้นมาร้อยละ 1 อาจกล่าวได้ว่าอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงหรือผลตอบแทนสุทธิที่ได้รับจริงๆ อยู่ที่ร้อยละ 0.5 ต่อปีเท่านั้น

แต่หากปีต่อไป อัตราดอกเบี้ยเงินฝากยังเท่าเดิม แต่อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นไปอยู่ที่ร้อยละ 2 อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงจะกลายเป็นร้อยละ - 0.5 ต่อปี ซึ่งถือว่ากำลังซื้อของผู้ฝากเงินลดลง

การฝากเงินทำให้ได้รับผลตอบแทนจริงๆ ติดลบ ทำให้ผู้ฝากไม่อยากออมเงิน และอาจหันไปลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า เช่น ทองคำ อสังหาริมทรัพย์และหุ้น เป็นต้น ทำให้ต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่สูงขึ้นด้วย หากไม่มีความรู้เพียงพอในการบริหารจัดการ ก็อาจทำให้เกิดเป็นภาระหนี้สินได้


ผลต่อผู้ประกอบการ / นักธุรกิจ

เมื่อสินค้ามีราคาแพงขึ้น ยอดขายก็จะลดลง ในขณะเดียวกัน ต้นทุนการผลิตก็จะสูงขึ้นด้วย ส่งผลให้เจ้าของธุรกิจบางรายอาจตัดสินใจชะลอการผลิต ลดการลงทุนและการจ้างงาน ทำให้คนตกงานมากขึ้น

ความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจในประเทศลดลง เนื่องจากราคาสินค้าส่งออกของเราจะสูงขึ้นเมื่อเทียบกับราคาสินค้าออกของประเทศอื่นๆ


ผลต่อประเทศ

ในภาวะที่ประชาชนซื้อของน้อยลง ธุรกิจไม่สามารถขายของได้ การลงทุนเพื่อผลิตสินค้าก็จะชะลอออกไป ทำให้การพัฒนาศักยภาพการผลิตของประเทศในระยะยาวอาจชะลอลงตามไปด้วย

ถ้าอัตราเงินเฟ้อสูงจนทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบนานๆ ประชาชนก็จะหันไปเก็งกำไรในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง สะสมปัญหาฟองสบู่ในสินทรัพย์ต่างๆ (asset price bubble) และความไม่สมดุลในภาคการเงินของประเทศได้เช่น หนี้ครัวเรือน


ที่มา: https://www.bot.or.th

วันพุธที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2565

เงินเฟ้อ คืออะไร เกิดจากอะไรและต่างจากเงิดฝืดอย่างไร

เงินเฟ้อ คืออะไร

ภาวะเงินเฟ้อ หมายถึง ภาวะที่ราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งหากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นมากจะกระทบต่อฐานะและความเป็นอยู่ของประชาชน

ทั้งนี้ จึงจำเป็นต้องมีหน่วยงานทำหน้าที่ควบคุมดูแลเรื่องเงินเฟ้อ คือ

1. กระทรวงพาณิชย์

2. ธนาคารแห่งประเทศไทย


1. กระทรวงพาณิชย์

ส่วนหนึ่งคือการดูแลราคาสินค้าและบริการไม่ให้ผู้ประกอบการฉวยโอกาสหรือเอาเปรียบผู้บริโภค หรือตรึงราคาไว้ในช่วงที่สินค้าขาดแคลนระยะสั้น นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ติดตามรวบรวมข้อมูลราคาสินค้าและบริการที่ผู้บริโภคซื้อเป็นประจำทุกวันจากตลาดและแหล่งจำหน่ายต่างๆ ทั่วประเทศ นำมาคำนวณจัดทำเป็นดัชนี ที่เรียกว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนทราบภาวะเงินเฟ้อสามารถวัดได้จากการเปลี่ยนแปลงของดัชนีดังกล่าว ซึ่งเรียกตัวชี้วัดนี้ว่า อัตราเงินเฟ้อ

2. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

ดำเนินนโยบายการเงินผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อดูแลเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำและไม่ผันผวน ซึ่งเอื้อต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนในระยะยาว และความกินดีอยู่ดีของประชาชน

เงินเฟ้อ เกิดจากอะไร

สาเหตุการเกิดเงินเฟ้อแบ่งได้เป็น 2 สาเหตุหลัก ๆ คือ

1. ประชาชนต้องการซื้อสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น (เรียกว่า Demand – Pull Inflation) ประกอบกับสินค้าและบริการนั้นๆ ในตลาดมีไม่เพียงพอ ทำให้ผู้ขายปรับราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น

2. ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น (เรียกว่า Cost – Push Inflation) กล่าวคือ หากผู้ผลิตไม่สามารถ แบกรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้นได้ จะทำให้ผู้ผลิตต้องปรับราคาสินค้าและบริการให้สูงขึ้นด้วย


เงินเฟ้อกับเงินฝืดต่างกันอย่างไร

ตรงกันข้ามกับภาวะเงินเฟ้อ ภาวะเงินฝืดเกิดขึ้นเมื่อระดับราคาสินค้าและบริการลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยมีสาเหตุหลายประการ เช่น ความต้องการซื้อสินค้าและบริการของประชาชนลดลง หรือ ปริมาณเงินที่หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ มีไม่เพียงพอกับความต้องการ ซึ่งอาจทำให้ราคาสินค้าปรับลดลง ผู้ผลิตก็อาจไม่ต้องการผลิตสินค้าและบริการในปริมาณเท่าเดิม ทำให้ลดกำลังการผลิตลง และส่งผลให้เศรษฐกิจซบเซาในที่สุด

จะเห็นได้ว่า ทั้งภาวะเงินเฟ้อและเงินฝืด เกิดจากการเคลื่อนไหวขึ้นลงของเศรษฐกิจตามวัฏจักร แต่หากมีความรุนแรงและยืดเยื้อ ก็ล้วนส่งผลเสียต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและความกินดีอยู่ดีของประชาชนด้วยกันทั้งสิ้น

บทความต่อไปมาเรียนรู้ผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อ ว่าจะส่งผลอย่างไรบ้างต่อประชาชนทั่วไป นักลงทุน รวมถึงประเทศชาติ

ที่มา: https://www.bot.or.th

วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2565

หลักพิจารณาเบื้องต้นในการขายหุ้น

"การซื้อหุ้นนั้นง่าย แต่การขายหุ้นนั้นกลับทำยาก" คำนี้ยังเป็นคำกล่าวคลาสสิคเสมอในการขายหุ้น ไม่ว่าจะเมื่อได้กำไรหรือขาดทุน การจะตัดใจขายนั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ยากรวมถึงผู้เขียนเองด้วย ส่วนหนึ่งก็เนื่องมาจากหากเราได้กำไรอยู่ก็จะไม่อยากขายเพราะกลัวจะขายหมู แต่เมื่อถือต่อไปกลับพบว่าราคาตกลงมาจนกำไรลดลง หรือบางครั้งกลับมาเท่าทุนก็มี ส่วนกรณีขาดทุนอยู่อันนี้ยิ่งไม่อยากขาย ด้วยความหวังว่ามันจะกลับมาดีที่เดิมหรือได้กำไรบ้าง แต่จนแล้วจนรอดกลับกลายเป็นขาดทุนเพิ่มขึ้นก็มี

นี่เป็นไกด์ไลน์ส่วนหนึ่งสำหรับพิจารณาขายหุ้นสำหรับท่านนักลงทุนมือใหม่ที่ยังไม่แน่ใจว่าเมื่อไรจะขายดี ลองนำไปปรับใช้ดูครับ

  1. ขายได้เมื่อราคาเกิน fair value
  2. บริษัทที่เมื่อก่อนเคยดี แต่ตอนนี้ไม่ดี
  3. ขายเพื่อ Re-balance port
  4. ขายก็ต่อเมื่อเจอหุ้นตัวอื่นหรือโอกาสการลงทุนอื่น
  5. ขายเมื่อหุ้นกำลังอยู่ในช่วงปลายของ stage 3
  6. กลยุทธ์การรับมือพอร์ตหุ้นแดงหรือเมื่อราคาปรับตัวลงแรง

วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2565

หุ้นผู้นำตลาด

"หุ้นผู้นำตลาด" มีลักษณะอย่างไร และมีวิธีการพิจารณาอย่างไรว่าหุ้นนั้นๆ อยู่ในกลุ่มหุ้นผู้นำตลาดหรือไม่

หลักเบื้องต้นที่นำมาใช้ในการพิจารณานั้น มีเบื้องต้นดังนี้
  • บริษัทสามารถทำกำไรเติบโตได้อย่างรวดเร็วที่สุด
  • เป็นผู้เล่นที่แข็งแกร่งที่สุดในอุตสาหกรรม
  • มียอดขายและกำไรเป็นอันดับ 1 2 หรือ 3
  • มีส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุด
  • ภาพการเติบโตในอนาคต
ราคาของหุ้นผู้นำตลาดจะมีเปอร์เซ็นต์การเพิ่มขึ้นสูงสุดในระยะต้นของการวิ่งขึ้น

ปัจจัยที่เป็นแรงขับเคลื่อนราคาของหุ้นผู้นำตลาดคือ สถาบันต่างๆ จะไม่สนใจเลยว่าราคาของหุ้นนั้นขึ้นมาสูงแค่ไหนแล้ว และมี P/E เท่าไร พวกเขาสนใจเพียงแต่ว่า ราคาจะขึ้นไปได้อีกเท่าไร และอะไรคือภาพการเติบโตในอนาคต

สถานการณ์การเติบโตที่ดีที่สุดคือ การเติบโตด้วยการขยายขนาด บริษัทที่มีส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้นและอยู่ในอยู่ในอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ตลาดสำหรับสินค้าหรือบริการมีขนาดใหญ่มากเมื่อเทียบกับขนาดของบริษัท และมีอุปสงค์ความต้องการของสินค้าเหล่านั้นสูงมากเพียงพอที่จะทำให้บริษัทมีการเติบโตขึ้นได้ในอัตราสูงเป็นระยะเวลานาน บริษัทมีแบรนด์และการวางตำแหน่งทางการตลาดที่แข็งแกร่งมาก โดยที่คู่แข่งขันอื่นเข้ามาแย่งชิงตำแหน่งได้ยากแม้ว่าจะมีเงินทุนมากมายแค่ไหนก็ตาม

บริษัทเหล่านี้จะเติบโตได้อย่างรวดเร็วจนไม่สามารถประเมินมูลค่าของพวกมันได้อย่างถูกต้อง จนทำให้ราคาหุ้นของพวกมันไม่ได้อยู่ในราคาที่เหมาะสม

วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ลักษณะของหุ้นในช่วงสเตจ 3 (Stage 3)

ลักษณะของหุ้นในช่วงสเตจ 3

  • ความผันผวนของราคาหุ้นเพิ่มมากขึ้น ราคาหุ้นเหวี่ยงขึ้นเหวี่ยงลงกว้างมากขึ้น แต่หลวมมากขึ้น ถึงแม้ว่าราคาโดยรวมจะคล้ายสเตจ 2 ที่อาจมีการเพิ่มสูงขึ้นของราคา แต่ลักษณะการเคลื่อนที่จะเอาแน่เอานอนไม่ค่อยได้มากขึ้น
  • ในวันที่ราคาหุ้นมีการเบรคเอาท์อย่างมีนัยด้วยปริมาณการซื้อขายเพิ่มมากขึ้น บ่อยครั้งจะพบว่ามีการลดลงของราคาใน 1 วันมากที่สุด นับตั้งแต่เริ่มต้นการเพิ่มขึ้นของราคาในสเตจ 2 ในกราฟราคารายสัปดาห์ก็เช่นกัน จะเห็นการลดลงของราคาครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่จุดเริ่มต้นการเคลื่อนที่ การทะลุของราคานี้มักจะเกิดขึ้นด้วยปริมาณการซื้อขายที่ท่วมท้นอยู่เสมอ
  • ราคาหุ้นอาจจะลดลงไปตัดเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 200 วัน ราคาหุ้นจะผันผวนอยู่แถวบริเวณเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 200 วัน (40 สัปดาห์) เป็นเรื่องปกติของหุ้นหลายตัวในสเตจ 3 ที่ราคาหุ้นจะเด้งขึ้นเด้งลงผ่านเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 200 วันไปมาหลายรอบในขณะที่ทำราคาผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว
  • เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 200 วันจะสูญเสียโมเมนตัมในขาขึ้น ราคาเริ่มไม่ค่อยไปไหน และสุดท้ายก็กลับเป็นขาลง

วันพฤหัสบดีที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2564

9 สิ่งที่ต้องรู้และระวังในการเทรดด้วยกราฟ

9 สิ่งที่ต้องรู้และระวังในการเทรดด้วยกราฟ ดังต่อไปนี้ ผมขอหยิบยกมาจากหนังสือ "สแกนหุ้น Mindset เทรดยังไงให้ได้กำไร" ของคุณเบิร์ด สแกนหุ้น เพื่อเอามาไว้เตือนใจตัวเองยามที่อารมณ์มานำเหตุผลในการเทรดครับ

มาไล่กันไปทีละข้อๆ เลยดีกว่า

1. อย่ามโนรู้ก่อนกราฟ

2. สัญญาณมาจึงวางแผน

3. กราฟบอกแนวโน้มได้ แต่ไม่รู้อนาคต 100%

4. จินตนาการสำคัญกว่าความรู้

5. เทรดตามเจ้าอย่าห้าวเกินตัว

6. ก่อนซื้อคิดให้เยอะ หลังซื้อจึงไร้ใจ

7. ไม่ไหวอย่าฝืน ผิดต้องยอมรับผิด

8. แพนิค (Panic) ทำลายได้ทุกแพทเทิร์น (Pattern)

9. อยากอยู่รอด ต้องมีระบบและกฎในการเทรด

วันจันทร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ความหมายของ Radars แต่ละตัวใน StockRadars

รวบรวมความหมายของเรดาร์แต่ละตัวในแอพ StockRadars มาฝากกันครับ


Technical
Volume
Rising Volumeหุ้นที่มีปริมาณการซื้อขายปรับตัวเพิ่มขึ้น 3 วันทำการติดต่อกัน
High Volumeปริมาณหุ้นที่มีการซื้อขายในวันล่าสุด มากกว่าค่าเฉลี่ยต่อวันใน 3 เดือนล่าสุด อย่างน้อย 50%
High Volume Gainersราคาปรับตัวขึ้นมากกว่า 5% ใน 3 วันทำการ และปริมาณหุ้นที่มีการซื้อขายเฉลี่ยใน 3 วันล่าสุดมากกว่าค่าเฉลี่ยต่อวันใน 3 เดือนล่าสุด อย่างน้อย 25%
Crossover
MACD BullishMoving Average Convergence Divergence (MACD) แสดงถึง Momentum หรือ ความแข็งแกร่งของราคาที่เคลื่อนที่ในทิศทางนั้น ซึ่งลักษณะของเส้น MACD ตัดขึ้นเหนือ Signal line มักใช้เป็นสัญญาณยืนยันความแข็งแกร่งของราคาในทิศทางการขึ้น
MACD BearishMoving Average Convergence Divergence (MACD) แสดงถึง Momentum หรือ ความแข็งแกร่งของราคาที่เคลื่อนที่ในทิศทางนั้น ซึ่งลักษณะของเส้น MACD ตัดลงใต้ Signal line มักใช้เป็นสัญญาณยืนยันความแข็งแกร่งของราคาในทิศทางการลง
MACD Cross Zero BullishMoving Average Convergence Divergence (MACD) แสดงถึง Momentum หรือ ความแข็งแกร่งของราคาที่เคลื่อนที่ในทิศทางนั้น ซึ่งลักษณะของเส้น MACD ตัดขึ้นเหนือ ค่า 0 มักใช้เป็นสัญญาณยืนยันความแข็งแกร่งของราคาในทิศทางการขึ้น

วันเสาร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

จังหวะเข้าหุ้นที่ดี มีวิธีการอย่างไร

จังหวะที่ดีในการเข้าซื้อหุ้น ควรพิจารณาอะไรบ้าง

1. จังหวะที่รายย่อยขาย รายใหญ่เก็บ - ดูจาก volume ที่เบาบาง ไม่ว่าจะขึ้นหรือลงจะมี volume เพียงเล็กน้อย

2. จุดที่หุ้นลงจบรอบ - อาจจะสังเกตจากลดลงมามากจากจุดสูงสุด อาจจะลงมาได้ถึง 70% จากจุดสูงสุด

3. จุดขอติดรถไปด้วย - หุ้นบางตัว แม้จะขึ้นมาแล้ว 100% แต่ก็ยังมีโอกาสได้อีก

4. จุดพักกลางรอบ - ก่อนจะขึ้นจนถึงจุดสูงสุด จะมีการย่อลงมาเป็นระยะๆ ให้สังเกตจังหวะการเข้าที่จุดพักระหว่างรอบ อาจจะย่อลงมา 20% - 30%

5. ดูกราฟประกอบ - ดูพฤติกรรมลักษณะราคาประกอบกับ volume ของหุ้น

ขอขอบคุณที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=HBcIX901gh0

วันอาทิตย์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

วิธีการอ่าน Bid Offer 5 รูปแบบ

ความรู้ดีๆ ในการอ่าน Bid Offer ในตลาดครับ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสั่งซื้อขายหุ้น



ขอบคุณความรู้ดีๆ ครับ


วันศุกร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2564

ส่วนแบ่งจำนวนประชากรของแต่ละประเทศบนโลกใบนี้ ปี 2021

 


จำนวนประชากรบนโลก บ่งบอกขนาดตลาดของธุรกิจได้อีกทางหนึ่งครับ การมีธุรกิจที่แข็งแกร่งในประเทศที่มีประชากรเยอะก็เป็นสิ่งที่ดี มีผลต่อโอกาสการเติบโตของธุรกิจในอนาคตได้

Credit: IMF, Statista

วันอาทิตย์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2564

หุ้นติด Cash Balance คืออะไร และมีผลเสียอะไรหรือไม่

ก่อนหน้านี้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) เต็มไปด้วยนักเก็งกำไร และบางครั้งก็มักจะลากราคาหุ้นขึ้นไปจนผิดจากสถานการณ์ปกติมาก โดยใช้เครื่องมือคือบัญชีมาร์จิ้น (กู้ยืมเงินในการซื้อหุ้น) เมื่อราคาหุ้นปรับขึ้นไปสูงจนนักลงทุนรายย่อยพากันเข้าไปซื้อหุ้นตาม นักเก็งกำไรก็จะขายหุ้นออกมาจนราคาหุ้นปรับตัวลงอย่างรุนแรง และเกิดความเสียหายในวงกว้าง

ตลาดหลักทรัพย์ฯ เลยต้องมีมาตรการป้องกันความเสี่ยงให้กับนักลงทุนรายย่อย ด้วยการบังคับให้หุ้นที่มีการเคลื่อนไหวผิดปกติจะต้องใช้  "บัญชีเติมเงิน (Cash Balance)" ในการซื้อขายหุ้นเท่านั้น หรือก็คือต้องนำเงินสดใส่เข้าไปในพอร์ตหุ้นถึงจะซื้อได้ เมื่อนักเก็งกำไรไม่สามารถกู้เงินมาใช้ลงทุนได้แล้ว ผลของมันก็คือความร้อนแรงของราคาหุ้นและปริมาณซื้อขายจะลดลงนั่นเอง

หุ้นที่เข้าข่ายมาตรการนี้จะถูกเรียกว่า "หลักทรัพย์ที่เข้าข่ายมาตรการกำกับการซื้อขาย"

ดังนั้นจริงๆแล้ว Cash Balance จึงเป็นเพียงชื่อของหนึ่งในมาตรการเท่านั้น

ปัจจัยที่ทำให้หุ้นเข้าข่ายมาตรการกำกับการซื้อขายจะต้องมีลักษณะแบบนี้

1. อัตราหมุนเวียนการซื้อขาย (Turnover ratio) มากกว่าเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯกำหนด

2. มูลค่าซื้อขายมากกว่าเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯกำหนด

3. บางครั้งอาจใช้อัตราส่วนราคาหุ้นต่อกำไรสุทธิต่อหุ้น (P/E Ratio) มาเป็นเงื่อนไขด้วย หากราคาซื้อขายไม่สอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐาน

ปัจจุบันตลาดหลักทรัพย์ไม่ได้เปิดเผยเงื่อนไขชัดเจนว่าต้องมี Turnover ratio และมูลค่าซื้อขายเท่าไหร่จึงจะเข้าข่ายมาตรการกำกับซื้อขาย

ขณะที่โบรกเกอร์แต่ละรายแม้จะสามารถคาดการณ์ได้ แต่ก็จะใช้เกณฑ์ในการคำนวณไม่เหมือนกันอยู่ดี

หุ้นที่เข้าข่ายจะถูกกำกับด้วยมาตรการทั้งหมด 3 ระดับด้วยกัน

ระดับ 1 : Cash Balance เมื่อหุ้นติดแล้วจะมีเครื่องหมาย T1 ต่อท้ายชื่อหุ้น นักลงทุนจะต้องซื้อหุ้นตัวนั้นด้วยบัญชีที่ใส่เงินสดเข้าไป (Cash Balance) เท่านั้น

สาเหตุที่นิยมเรียกหุ้นที่โดนมาตรการกำกับว่าติดCash Balance ก็เพราะหุ้นส่วนใหญ่มักจะพ้นจากมาตรการนี้กันตั้งแต่ระดับที่ 1 นั่นเอง

ระดับ 2 : ห้ามคำนวณวงเงินซื้อขาย และ Cash Balance เครื่องหมาย T2 ต่อท้ายชื่อหุ้น จะใช้ต่อเมื่อมาตรการระดับ 1 ไม่ได้ผล และมีข้อบังคับเพิ่มเติมนอกจากการใช้เงินสดซื้อหุ้นแล้ว ห้ามโบรกเกอร์ใช้หุ้นตัวนี้เป็นหลักประกันในการคำนวณวงเงินซื้อขายหลักทรัพย์ในทุกประเภทบัญชีด้วย

ระดับ 3 : ห้าม Net settlement, ห้ามคำนวณวงเงินซื้อขาย และ Cash Balance เมื่อมาถึงระดับนี้จะมี T3 ต่อท้ายชื่อหุ้น สิ่งที่แตกต่างจาก 2 ระดับด้านบนก็คือ ห้ามโบรกเกอร์หักลบราคาค่าซื้อกับราคาค่าขาย หลักทรัพย์เดียวกันในวันเดียวกัน (Net Settlement) ความหมายก็คือเมื่อเราซื้อและขายหุ้นตัวนี้ในวันเดียวกันจะไม่ได้รับวงเงินคืนมา ต้องรอวันทำการอื่น ทำให้เข้าไปซื้อขายหุ้นหลายๆรอบในวันเดียวไม่ได้ยกเว้นว่าจะมีเงินมหาศาลมากๆ

วัตถุประสงค์ของ Cash Balance ก็คือลดความเสี่ยงให้กับนักลงทุน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าหุ้นที่ติด Cash Balance จะต้องเป็นหุ้นไม่ดีเสมอไปนะ เพราะบางทีแนวโน้มธุรกิจของหุ้นตัวนั้นอาจจะดีขึ้นกว่าเดิมมากๆ จนทำให้คนรีบเข้าไปซื้อหุ้นกัน ก็ส่งผลให้หุ้นตัวนั้นติดมาตรการได้เหมือนกัน

ขอขอบคุณที่มา: https://www.efinancethai.com/advertorial/AdvertorialMain.aspx?name=ad_202102191343

วันพุธที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2564

คู่มือการอ่านค่าความหมายต่างๆ บนแอป settrade สำหรับมือถือ

หลักทรัพย์กสิกรไทย ทำ infographic คู่มือการอ่านค่าความหมายต่างๆ บนแอป Streaming settrade สำหรับมือถือ อ่านแล้วเข้าใจง่ายดี ขออนุญาติเอามาฝากกันครับ





ขอขอบคุณ: https://www.kasikornsecurities.com/

วันเสาร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2564

กลยุทธ์การรับมือพอร์ตหุ้นแดงหรือเมื่อราคาปรับตัวลงแรง

วันนี้เจอคลิปดีๆ ดูแล้วได้ไอเดียในการจัดการพอร์ตกรณีที่หุ้นลงหรือพอร์ตแดง ในคลิปนี้แนะนำมา 6 กลยุทธ์ดังด้านล่าง ลงไปชมกันครับ

1. SAP (Short Against Port)

2. ยอมขายหุ้นดีที่ราคาลงน้อย ไปซื้อหุ้นที่ดีที่ราคาลงไปเยอะกว่า

3. ทำความเข้าใจธรรมชาติของตลาดหุ้น

4. เช็คพอร์ตของเราว่าหุ้นตัวไหนดี หุ้นตัวไหนแย่

5. มองหาโอกาสการลงทุนใหม่ๆ

6. เพิ่มการออมหรือเก็บกระสุนให้มากขึ้นเป็นพิเศษ




ขอบคุณท่านเจ้าของคลิปที่ทำคลิปดีๆ มาเป็นความรู้นักลงทุนกันครับ

บทความที่น่าสนใจ