วันอาทิตย์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2566

หลักพิจารณาเบื้องต้นก่อนการซื้อหุ้น

การเคาะซื้อหุ้นย่อมเป็นเรื่องง่ายยิ่งกว่าปอกกล้วยเข้าปาก แต่ซื้อมาแล้วชีวิตจะยากหรือเปล่านั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง

หลายครั้งเราจะพบหุ้นที่น่าสนใจแต่ไม่กล้าเข้าซื้อ ด้วยเหตุผลต่างๆ นาๆ ดังนั้น บทความนี้จะรวบรวมข้อคิดและหลักการเบื้องต้น ก่อนตัดสินใจเข้าซื้อหุ้น เป้าหมายเพื่อลดความเสี่ยงทั้งในด้านการขาดทุนและในด้านการเสียโอกาสเข้าซื้อ

  1. อย่ายึดติดกับราคาว่าหุ้นขึ้นมามากแล้วเท่าไร แต่ให้ยึดติดกับการพิจารณาว่าราคาจะไปได้อีกเท่าไร
  2. อย่าซื้อหุ้นที่ไม่รู้จัก ไม่มีความชำนาญ แม้ว่าราคาจะน่าสนใจเท่าไร จนกว่าคุณจะทำความเข้าใจและรู้จักวิถีของหุ้นตัวนั้นดีพอ บ่อยครั้งที่อาจจะมีคนพูดถึงหรือแนะนำหุ้นตัวใดตัวหนึ่งมาแต่ถ้าเราไม่ได้ทำการบ้านอย่างจริงจังในหุ้นตัวนั้นๆ ก็อาจมีโอกาสสูงที่จะมีความเสียหายจากการเชื่อคนอื่นโดยง่าย
  3. อย่าซื้อหุ้นที่เพิ่งติดเรดาห์ของคุณเข้ามา แล้วต้องรีบตัดสินใจเพราะกลัวตกรถ เพราะหุ้นที่ดีจริงจะไม่ได้มีพฤติกรรมที่ต้องรีบเร่งในการเข้าซื้อขนาดนั้น
  4. วิเคราะห์หุ้นตามแบบคัดกรองหุ้นจากหนังสือศาสตร์แห่ง Buffett 2
  5. ตรวจสอบประวัติหุ้น เช่น ประวัติการผิดนัดชำระหุ้นกู้ ประวัติผู้บริหาร

วิเคราะห์หุ้นตามแบบคัดกรองหุ้นจากหนังสือศาสตร์แห่ง Buffett 2

วิเคราะห์หุ้นตามแบบคัดกรองหุ้นจากหนังสือศาสตร์แห่ง Buffett 2
  1. เป็นบริษัทที่ขายสินค้าหรือบริการที่เป็นแบรนด์ดัง ซึ่งน่าจะได้เปรียบทางการแข่งขันที่ยั่งยืนหรือขายสินค้าหรือบริการที่แข่งขันกันด้วยราคา
  2. คุณเข้าใจกลไกการทำงานของสินค้าและบริการของธุรกิจหรือไม่
  3. บริษัทมีรายได้และกำไรแข็งแกร่ง มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นหรือไม่
  4. บริษัทจัดสรรเงินทุนไปใช้ในธุรกิจที่บริษัทเชี่ยวชาญเท่านั้นหรือไม่
  5. บริษัทมีการซื้อหุ้นคืนหรือไม่ หรือมีการเพิ่มทุน
  6. บริษัทนำกำไรสะสมไปลงทุนเพื่อทำให้กำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้นและมูลค่าผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้นตามหรือไม่
  7. ผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหรือไม่
  8. บริษัทปรับราคาสินค้าได้อย่างอิสระตามอัตราเงินเฟ้อหรือไม่
  9. บริษัทจำเป็นต้องใช้เงินลงทุนก้อนใหญ่เพื่อปรับปรุงโรงงานหรือเครื่องจักรเรื่อยๆ หรือไม่
  10. กำไรสุทธิจะให้หนี้หมดภายในเวลากี่ปี
วิเคราะห์เพิ่มเติม
  1. เงินปันผลเป็นอย่างไร สม่ำเสมอหรือไม่ มีโอกาสเพิ่มขึ้นหรือลดหรือไม่
  2. ต้องพึ่งพาลูกค้าเพียงรายเดียวหรือไม่
  3. ความเสี่ยงมีอะไรบ้าง

บทความที่น่าสนใจ