รวมรวมคำศัพท์การลงทุน พร้อมตัวอย่างอธิบาย
วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565
รวมคำศัพท์การลงทุน
วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2565
การตรวจสอบสถานะหุ้นกู้
ความกังวลในช่วงเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวกลับ หรือมีแนวโน้มจะแย่จากภาวะเศรษฐกิจสหรัฐจะเข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession) จึงห่วงว่า
บริษัทต่าง ๆ อาจจะเห็นการผิดนัดชำระหนี้หุ้นกู้เพิ่มขึ้น แต่ทางสมาคมเห็นบริษัทผู้ออกหุ้นกู้ของไทยจะใช้วิธีการไปพูดคุยกับทางเจ้าหนี้ผู้ถือหุ้นกู้ เพื่อขอเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ เช่น ยืดชำระหนี้หุ้นกู้ออกไป ทั้งโดยที่มีการขอจ่ายดอกเบี้ยเพิ่ม หรือไม่จ่ายดอกเบี้ยเพิ่มก็ตาม
โดยทางสมาคมจะขึ้นเครื่องหมายหุ้นกู้ลักษณะนี้ว่า Restructure: RS แต่การจะขึ้นเครื่องหมายได้จะต้องขอมติอนุมัติไม่ต่ำกว่า 3 ใน 4 จากผู้ถือหุ้นกู้ก่อน และผู้ถือหุ้นกู้เองจะต้องพิจารณาว่าบริษัทอาจจะไม่ได้มีเจตนาเบี้ยวหนี้ แต่ด้วยผลกระทบโควิด-19 ที่กระทบกระแสเงินสดของกิจการไม่เหมือนเดิม ซึ่งที่ผ่านมาก็เห็นหลายบริษัทที่ยืดชำระหนี้ออกไปก็กลับมาจ่ายคืนได้หมด จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ไม่ค่อยเห็นการผิดนัดชำระหนี้ที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน
ส่วนหุ้นกู้ที่มีผิดนัดชำระหนี้จริง ทางสมาคมจะขึ้นเครื่องหมายหุ้นกู้ลักษณะนี้ว่า Default Payment: DP ซึ่งเป็นหุ้นกู้ที่มีปัญหาจริง ๆ ในเรื่องของการบริหารกิจการ
หมายเหตุ
Default Payment คือ
1.ผู้ออกตราสารหนี้ไม่สามารถชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ย ซึ่งถือเป็นเหตุผิดนัดตามข้อกำหนดสิทธิ
2.ผู้ออกตราสารหนี้ไม่สามารถชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ย เนื่องจากอยู่ในสภาวะพักการชำระหนี้ (Automatic stay)
3.สมาคมได้รับแจ้งจากผู้ออกตราสารหนี้ หรือผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ว่ามีเหตุผิดนัดตามข้อกำหนดสิทธิเกิดขึ้น ซึ่งรวมถึงเหตุผิดนัดเนื่องจาก Cross default
ลิงค์สำหรับการตรวจสอบสถานะหุ้นกู้
https://www.thaibma.or.th/EN/BondInfo/EventSignBond/EventSignBondDetail.aspx
วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2565
หุ้นที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากวิกฤติน้ำท่วม
จากการที่ปีนี้ประเทศไทยของเราประสบปัญหาน้ำท่วมเกือบจะทุกภาค หลายจังหวัดมีความเสียหายทั้งพื้นที่เกษตรและถนนหนทางเป็นวงกว้าง
เราได้รวบรวมหุ้นที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์หลังจากน้ำลด ดังนี้
- ซ่อมแซมบ้าน
- HMPRO - ธุรกิจค้าปลีก โดยจำหน่ายสินค้าและให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง ตกแต่ง ต่อเติม ซ่อมแซม ปรับปรุง อาคาร บ้าน และที่อยู่อาศัยแบบครบวงจร (One Stop Shopping Home Center) โดยใช้ชื่อ โฮมโปร (HomePro) เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัทฯ
- DOHOME - ค้าปลีก ค้าส่ง และให้บริการด้านวัสดุก่อสร้าง และอุปกรณ์ตกแต่งบ้านแบบครบวงจร
- COTTO - ผลิตและจำหน่ายกระเบื้องเซรามิกปูพื้นและบุผนังเป็นธุรกิจหลัก ภายใต้เครื่องหมายการค้า COTTO, SOSUCO และ CAMPANA และธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมหนองแค
- UMI - ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่าย- กระเบื้องโมเสก ยูเอ็มไอ - กระเบื้องเซรามิคปูพื้น ดูราเกรส - กระเบื้องเซรามิคบุผนัง ดูราเกรส ลีลา
- DRT - เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์หลังคา แผ่นผนังและฝ้า ไม้สังเคราะห์ รวมทั้งสินค้าประกอบการติดตั้งหลังคาและสินค้าโครงสร้างของบ้าน พร้อมให้บริการถอดแบบและติดตั้งหลังคา ภายใต้เครื่องหมายการค้า ตราเพชร ตราหลังคา ตราอดามัส และตราเจียระไน
- TOA - บริษัทประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สีและสารเคลือบผิวให้กับกลุ่มผู้ใช้งานประเภทลูกค้าทั่วไป โดยแบ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์หลักเป็น 2 กลุ่ม 1. ผลิตภัณฑ์สีทาอาคาร 2. ผลิตภัณฑ์สีและสารเคลือบผิวและผลิตภัณฑ์ประเภทอื่น เช่น ผลิตภัณฑ์เคมีก่อสร้าง ผลิตภัณฑ์สีที่มีความทนทานสูง และ ผลิตภัณฑ์ที่นอกเหนือจากสีทาอาคารอื่น
- DPAINT - ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สีทาอาคาร
- ซ่อมแซมถนน
- TASCO - บริษัท ทิปโก้แอสฟัลท์ จำกัด (มหาชน) ("บริษัทฯ") ได้ก่อตั้งขึ้น ตั้งแต่ ปี 2522 ปัจจุบันบริษัทฯ บริษัทย่อย กิจการร่วมค้า และ บริษัทร่วม ("กลุ่มบริษัทฯ") เป็นผู้นำในการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยางมะตอยสำหรับนำไปใช้ในการก่อสร้างถนน และซ่อมบำรุงผิวการจราจร ทางยกระดับ ผิวทางวิ่งขึ้นลง ของสนามบิน ทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค กลุ่มบริษัทฯ ยังได้ส่งออกผลิตภัณฑ์ไปยังผู้นำเข้าและผู้รับเหมาก่อสร้างและซ่อมบำรุงถนนในทวีปแอฟริกา ออสเตรเลีย และอเมริกาเหนือ
- สินเชื่อเพื่อซ่อมแซมบ้าน เช่าซื้อรถ ลงทุนด้านการเกษตร ที่ได้ประโยชน์จากกรณีประชาชนต้องการทุนเพื่อประกอบอาชีพหลังน้ำลด
- หุ้นกลุ่มโรงพยาบาล ที่อาจจะได้กระแสจากการรักษาโรคจากน้ำท่วม
วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2565
สรุปมูลค่าการซื้อขายสุทธิสะสมตามกลุ่มนักลงทุนย้อนหลัง 1 ปี เดือน ก.ย. 2565
มูลค่าการซื้อขายสุทธิสะสมตามกลุ่มนักลงทุนย้อนหลัง 1 ปี
นับจากเดือน ต.ค. 2564 - ก.ย. 2565 พบว่านักลงทุนต่างชาติเป็นผู้ซื้อสุทธิ ส่วนสถาบันในประเทศเป็นผู้ขายสุทธิ
ณ สิ้นเดือน ก.ย. 2565 พบว่านักลงทุนต่างประเทศเป็นผู้ซื้อสะสมย้อนหลัง 1 ปีสูงสุด
โดยสรุปการซื้อสุทธิในรอบ 1 ปีล่าสุด แบ่งออกได้ดังนี้
สถาบันในประเทศ -138,233.13 ล้านบาท
บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ -80.75 ล้านบาท
นักลงทุนต่างประเทศ 149,033.18 ล้านบาท
นักลงทุนในประเทศ -10,719.30 ล้านบาท
ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.set.or.th/th/market/statistics/investor-type
วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2565
หุ้นตัวแทนขายสินค้าจาก Apple ในไทย มีอะไรบ้าง
หลังจาก Apple เพิ่งเปิดตัวสินค้า iPhone ใหม่ล่าสุดรุ่น iPhone 14 มาดูกันว่ามีหุ้นตัวไหนในตลาดหุ้นไทยที่ขายสินค้าของ Apple กันบ้าง
COM7: Banana IT, Studio7, True Shop by COM7
CPW: .life, iStudio by Copperwired
JMART: Jaymart
SPVI: iStudio by SPVI, mobi by SPVI
SYNEX: ตัวแทนขายส่ง iPhone ในไทย
วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2565
ทำอย่างไรดีเมื่อโอนเงินผิดบัญชี
โอนเงินผิดบัญชี เป็นเรื่องที่ไม่ว่าใครก็ไม่ต้องการให้เกิดขึ้น
แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว เราสามารถทำอะไร แก้ปัญหานี้อย่างไรได้บ้าง พี่ทุยมีคำตอบมาให้ครับ
วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2565
ดอกเบี้ยขาขึ้นส่งผลกระทบธุรกิจใดบ้าง
เงินเฟ้อไทยที่เร่งตัวต่อเนื่องทำให้ ธปท. จำเป็นต้องดำเนินนโยบายการเงินตึงตัวมากขึ้น แต่ด้วยเศรษฐกิจไทยที่ยังคงเปราะบาง การดำเนินนโยบายจึงมีความท้าทายอย่างมาก ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ให้น้ำหนักต่อการรักษาเสถียรภาพด้านราคาเป็นสำคัญ การดำเนินนโยบายการเงินในระยะต่อไปจึงมีแนวโน้มตึงตัวมากขึ้น
แต่การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในภาวะที่เศรษฐกิจยังคงอ่อนแออาจยิ่งซ้ำเติมให้เกิดความเสี่ยงต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ แม้การขึ้นดอกเบี้ยนโยบายจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของทั้งภาคธุรกิจและครัวเรือนแต่รายได้กลับลดลงรุนแรงกว่า จึงคาดว่า ธปท. จะใช้แนวทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างค่อยเป็นค่อยไปและมีเป้าหมายเพื่อลดเงินเฟ้อคาดการณ์เป็นหลัก เนื่องจากเศรษฐกิจไทยเพิ่งเริ่มฟื้นจากวิกฤตโควิด-19 และยังไม่กลับไปสู่ระดับก่อนเกิดการระบาด
ภาวะตลาดแรงงานยังคงอ่อนแอและภาระหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง การใช้นโยบายการเงินตึงตัวเพื่อควบคุมเงินเฟ้อในภาวะเช่นนี้ อาจสร้างคำถามถึงความพร้อมและความ เหมาะสมของนโยบายที่ควรจะเป็น ซึ่งเป็นความท้าทายอย่างมาก
ในส่วนของอัตราเงินเฟ้อจะไม่คงอยู่ในระดับสูงเป็นระยะเวลานาน การขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะเงินเฟ้อฝังลึก (Wage-price spiral) ที่จะทำให้อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวสูงจนยากต่อการควบคุม
ศูนย์วิจัยอีไอซี (EIC หรือ Economic Intelligence Center) ของ ธนาคารไทยพาณิชย์ จึงคาดว่า กนง. จะขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 2 ครั้งในช่วงครึ่งหลังของปีนี้เพื่อเป็นการส่งสัญญาณควบคุมเงินเฟ้อ
การขึ้นดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไปและต่อเนื่อง (ขึ้น 2 ครั้งในปี 2022 และอีก 2 ครั้งในช่วงครึ่งแรกของปี 2023 คราวละ 0.25% หรือเฉลี่ยไตรมาส ละ 1 ครั้ง) สามารถลดเงินเฟ้อคาดการณ์ได้ดีที่สุด โดยไม่สร้างแรงกดดันต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยมากจนเกินไป ดังนั้น การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2 ครั้งในปีนี้จึงเพียงพอและเหมาะสมในการส่งสัญญาณควบคุมเงินเฟ้อคาดการณ์ ท่ามกลางความเสี่ยงในระบบเศรษฐกิจที่อยู่ในระดับสูง
ผลกระทบโดยตรงผ่านการขึ้นดอกเบี้ย
- การลงทุน ผู้ประกอบการมีแนวโน้มลงทุนน้อยลง ตามต้นทุนกู้ยืมที่สูงขึ้น และโอกาสการผิดนัดชำระหนี้เพิ่มขึ้น
- การบริโภค ภาระหนี้และค่าใช้จ่ายด้านดอกเบี้ยสูงขึ้นทำให้บริโภคได้น้อยลง ผู้บริโภคบางส่วนหันไปออมเงินมากขึ้นและเลื่อนการบริโภคออกไป ราคาตราสารหนี้และตราสารทุนที่มีแนวโน้มลดลงยังทำให้ความมั่งคั่ง ของประชาชนลดลง wealth effect) จึงบริโภคลดลง
อัตราแลกเปลี่ยนแข็งค่าขึ้น
- ราคาสินค้านำเข้า ราคาสินค้านำเข้าโดยเฉพาะกลุ่มพลังงานปรับลดลง ช่วยทำให้แรงกดดันเงินเฟ้อในประเทศลดลงตาม
- การส่งออก เงินบาทแข็งค่าขึ้น ทำให้ผู้ส่งออกไทยเสียเปรียบในการแข่งขันด้านราคา จึงทำให้แนวโน้มส่งออกชะลอลง
คาดการณ์เงินเฟ้อในระยะต่อไป
ดอกเบี้ยสูงขึ้นทำให้เศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลง ประชาชนจึงปรับคาดการณ์เงินเฟ้อในระยะต่อไปลง
วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2565
เปิด 3 ฉากทัศน์ผลกระทบเศรษฐกิจไทย จากสงครามรัสเซีย-ยูเครน
นายวิชญายุทธ กล่าวว่า สศช.ได้รายงานให้ที่ประชุมรับทราบสถานการณ์เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก รวมทั้งได้รายงานฉากทัศน์ (Scenarios) 3 กรณีที่เกิดจากขึ้นจากความขัดแย้งของสถานการณ์การสู้รบระหว่างรัสเซียกับยูเครน และความขัดแย้งในภูมิภาคอื่นๆ
กรณีที่ 1
ซึ่งเป็นกรณีฐานที่ในปัจจุบันเราเชื่อว่าจะเป็นไปตามกรณีนี้ คือสงครามทางทหารระหว่างรัสเซีย ยูเครนยังเป็นไปอย่างต่อเนื่อง มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจยังคงระดับเดิมหรือเพิ่มระดับความรุนแรงอย่างช้าๆ โดยต่างฝ่ายต่างระมัดระวังผลกระทบจากมาตรการคว่ำบาตร (Sanction) และมาตรการตอบโต้ทางเศรษฐกิจ การทรงตัวหรือการเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ ของมาตรการ Sanction ในลักษณะดังกล่าวจะทำให้อุปสงค์และอุปทานน้ำมันดิบในตลาดโลกสามารถปรับตัวได้ทัน เช่นการลดการนำเข้าน้ำมันรัสเซีย แต่รัสเซียสามารถที่จะเปลี่ยนไปเป็นการส่งออกไปยังตลาดอื่นๆ โดยไม่ส่งผลให้อุปทานน้ำมันในตลาดโลกลดลง เช่นที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน
ในกรณีนี้ราคาน้ำมันในตลาดโลกจะค่อยๆ ลดลงในช่วงที่เหลือของปี ตามการปรับตัวของอุปทานน้ำมันในตลาดโลกที่สามารถ reallocate ได้ดี รวมทั้งการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และความวิตกกังวลต่อภาวะความถดถอยของประเทศเศรษฐกิจหลัก ส่วนราคา LNG ยังคงอยู่ในระดับสูงและยังมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น ก่อนที่จะเริ่มปรับคัวลดลงในปี 2566 ตามอุปทานที่น่าจะสามารถ reallocate ได้มากขึ้นตามลำดับรวมทั้งการสิ้นสุดลงของฤดูหนาวและเศรษฐกิจโลกที่จะเริ่มชะลอตัวชัดเจนมากขึ้น
ในด้านทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ และประเทศเศรษฐกิจหลัก (สหรัฐ แคนาดา สหราชอาณาจักร) ยังคงมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างน้อยที่สุดจนถึงสิ้นปีเพื่อลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อและสร้างความมั่นใจว่าอัตราเงินเฟ้อจะกลับเข้าสู่เป้าหมายของนโยบายการเงินในระยะยาว
ในภาพนี้ เศรษฐกิจโลกในปี 2565 จะขยายตัวสอดคล้องกับประมาณการของหน่วยงานต่างประเทศในปัจจุบัน และชะลอตัวลงอย่างชัดเจนในปี 2566 ตามการปรับทิศทางนโยบายการเงินและวัฎจักรของประเทศเศรษฐกิจหลักเป็นสำคัญ โดยอาจมีเศรษฐกิจหลักบางประเทศปรับตัวเข้าสู่ภาวะถดถอยเล็กๆ แต่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจทั้งปี 2565 – 2566 ไม่ถึงขั้นติดลบ อย่างไรก็ตามในกรณีนี้เศรษฐกิจโลกจะเริ่มฟื้นตัวดีขึ้นหลังปี 2566
เศรษฐกิจไทย ในภาพนี้เศรษฐกิจไทยยังขยายตัวได้สอดคล้องกับการประมาณการของหน่ายงานหลักด้านเศรษฐกิจ (สศช ธปท. สศค.) เงินเฟ้อค่อยๆ ปรับตัวลดลง ดุลบัญชีเดินสะพัดกลับมาเกินดุลอย่างช้าๆ ในปี 2566 โดย สศช.คาดว่าจีดีพีในปีนี้จะขยายตัวได้ในช่วง 2.5 – 3.5% ค่ากลางที่ 3%
กรณีที่ 2
เป็น Low case scenario สงครามทางทหารยังเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจและมาตรการตอบโต้ขยายขอบเขตเพิ่มเติมจนทำให้อุปสงค์และอุปทานน้ำมันดิบและสินค้าสำคัญอื่นๆ ในตลาดโลกไม่สามารถปรับตัวได้ทัน
ในกรณีนี้ราคาน้ำมันและราคาสินค้าสำคัญๆ ในตลาดโลกจะค่อยๆ กลับมาปรับตัวเพิ่มขึ้นอีกครั้งในช่วงที่เหลือของปี ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ และประเทศเศรษฐกิจหลักยังมีความจำเป็นที่จะต้องปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยมากกว่าในกรณีแรก ก่อนที่จะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงในปีหน้าตามการเพิ่มขึ้นของสัญญาณความเสี่ยงต่อ Recession
ในภาพนี้เศรษฐกิจโลกปี 2566 มีแนวโน้มที่จะขยายตัวต่ำกว่ากรณีแรก (ขึ้นอยู่กับสินค้าและมาตรการที่นำมาตอบโต้กัน) ในกรณีนี้เศรษฐกิจยูโซโซน สหราชอาณาจักร และสหรัฐฯ มีความเสี่ยงและสัญญาณการเข้าสู่ Recession มากขึ้นซึ่งจะส่งผลให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกในปี 2566 ปรับตัวลดลงมากกว่ากรณีแรก
ในกรณีนี้เศรษฐกิจไทย ปี 2565 และ 2566 ขยายตัวต่ำกว่ากรณีแรก อัตราเงินเฟ้อปี 2565 สูงกว่ากรณีแรกเล็กน้อย ก่อนที่จะลดลงมากหรือมีเงินเฟ้อติดลบในปี 2566 ในขณะที่ดุลเดินสะพัดกลับมาเกินดุลมากกว่าในกรณีแรก
กรณีที่ 3
เป็น Worst case scenario ซึ่งยังมีความเป็นไปได้น้อยแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นไปไม่ได้โดยสิ้นเชิง โดยเฉพาะภายใต้สถานการณ์ที่ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ กับจีนมีความชัดเจนมากขึ้น โดยในกรณีนี้ เป็นกรณีที่ความขัดแย้งขยายขอบเขต เริ่มมีการแบ่งขั้วอำนาจออกจากกันและแต่ละขั้วร่วมมือกันอย่างชัดเจนมากขึ้นระหว่างขั้วที่มีสหรัฐและพันธมิตรเป็นแกนนำ และระหว่างขั้วอำนาจที่มีรัสเซียและจีนเป็นแกนนำ ในกรณีนี้ ปัญหาจะมีความสลับซับซ้อนมากขึ้นและมีแนวโน้มที่จะทำให้เศรษฐกิจโลกถดถอยในระยะแรก และขยายตัวในเกณฑ์ต่ำสลับกับ recession เป็นระยะๆ ตามความรุนแรงของมาตรการตอบโต้ระหว่าง 2 ขั้วเศรษฐกิจหลักและการเพิ่มขึ้นของความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์
ในกรณีนี้ ราคาพลังงาน ราคาอาหาร และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ จะปรับตัวเพิ่มขึ้นและอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง เริ่มมีการขาดแคลนพลังงานและอาหาร รวมทั้งสินค้าสำคัญๆ ในตลาดโลกอย่างชัดเจน เศรษฐกิจของประเทศเศรษฐกิจหลักและเศรษฐกิจโลกในภาพรวมในระยะสั้นจะหดตัวชัดเจนและรุนแรง และขยายตัวในเกณฑ์ต่ำสลับกับภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ เป็นระยะๆ ตลอดหลายปีข้างหน้า ตามความรุนแรงของมาตรการตอบโต้ระหว่าง 2 ขั้วเศรษฐกิจหลักและการเพิ่มขึ้นของความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ที่อาจะส่งผลกระทบต่อการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ รวมทั้งการแบ่งขั้วทางเศรษฐกิจที่เป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลกในระยะยาว ในขณะที่ราคาน้ำมัน อัตราเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยในตลาดโลกไม่สามารถปรับตัวลดลงหรือเข้าสู่ stagflation คล้ายๆ กับในช่วงปี 1970 – 1980
สำหรับในกรณีนี้เศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบรุนแรง เนื่องจากเศรษฐกิจไทยพึ่งพิงและมีความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจเศรษฐกิจโลกสูง (การค้า การท่องเที่ยว การลงทุน ห่วงโซ่การผลิต ตลาดทุน การพึ่งพิงพลังงาน) อัตราเงินเฟ้อทรงตัวในระดับสูง ในขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลต่อเนื่องและการขาดดุลการคลังกว้างขึ้นและทำให้แรงกดดันจากปัญหาการขาดดุลแฝดรุนแรงมากขึ้น
ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1020452
วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2565
ผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อ
หลังจากได้ทราบแล้วว่าภาวะเงินเฟ้อคืออะไร บทความนี้เราจะมาเรียนรู้ผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อ ว่าส่งผลกระทบต่อประชาชน นักลงทุนและประเทศชาติอย่างไรบ้าง
ผลกระทบจากเงินเฟ้อ
ผลต่อประชาชนทั่วไป
รายจ่ายหรือภาระค่าครองชีพสูงขึ้น ทำให้ประชาชนมีอำนาจซื้อน้อยลง มีความสามารถจับจ่ายซื้อสินค้าและบริการได้น้อยลง และอาจทำให้รายได้ที่มีหรือเงินที่หามาได้ไม่เพียงพอกับการยังชีพ
อัตราเงินเฟ้อยิ่งสูง จะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยที่หักเงินเฟ้อออก หรือที่เรียกว่า อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง จะมีค่าลดลงไป เนื่องจากดอกเบี้ยที่เราได้รับเอาไปใช้ซื้อของได้น้อยลง
ยกตัวอย่าง กรณีที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ที่ร้อยละ 1.5 ต่อปีแต่หากอัตราเงินเฟ้อหรือราคาเพิ่มขึ้นมาร้อยละ 1 อาจกล่าวได้ว่าอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงหรือผลตอบแทนสุทธิที่ได้รับจริงๆ อยู่ที่ร้อยละ 0.5 ต่อปีเท่านั้น
แต่หากปีต่อไป อัตราดอกเบี้ยเงินฝากยังเท่าเดิม แต่อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นไปอยู่ที่ร้อยละ 2 อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงจะกลายเป็นร้อยละ - 0.5 ต่อปี ซึ่งถือว่ากำลังซื้อของผู้ฝากเงินลดลง
การฝากเงินทำให้ได้รับผลตอบแทนจริงๆ ติดลบ ทำให้ผู้ฝากไม่อยากออมเงิน และอาจหันไปลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า เช่น ทองคำ อสังหาริมทรัพย์และหุ้น เป็นต้น ทำให้ต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่สูงขึ้นด้วย หากไม่มีความรู้เพียงพอในการบริหารจัดการ ก็อาจทำให้เกิดเป็นภาระหนี้สินได้
ผลต่อผู้ประกอบการ / นักธุรกิจ
เมื่อสินค้ามีราคาแพงขึ้น ยอดขายก็จะลดลง ในขณะเดียวกัน ต้นทุนการผลิตก็จะสูงขึ้นด้วย ส่งผลให้เจ้าของธุรกิจบางรายอาจตัดสินใจชะลอการผลิต ลดการลงทุนและการจ้างงาน ทำให้คนตกงานมากขึ้น
ความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจในประเทศลดลง เนื่องจากราคาสินค้าส่งออกของเราจะสูงขึ้นเมื่อเทียบกับราคาสินค้าออกของประเทศอื่นๆ
ผลต่อประเทศ
ในภาวะที่ประชาชนซื้อของน้อยลง ธุรกิจไม่สามารถขายของได้ การลงทุนเพื่อผลิตสินค้าก็จะชะลอออกไป ทำให้การพัฒนาศักยภาพการผลิตของประเทศในระยะยาวอาจชะลอลงตามไปด้วย
ถ้าอัตราเงินเฟ้อสูงจนทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบนานๆ ประชาชนก็จะหันไปเก็งกำไรในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง สะสมปัญหาฟองสบู่ในสินทรัพย์ต่างๆ (asset price bubble) และความไม่สมดุลในภาคการเงินของประเทศได้เช่น หนี้ครัวเรือน
วันพุธที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2565
เปรียบเทียบการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางแต่ละประเทศ ปี 2022
หลังจากได้ยินข่าวเรื่องภาวะเงินเฟ้อกันมาสักพักตั้งแต่ต้นปีและธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ก็ได้มีการทยอยปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเพื่อรับมือกับภาวะเงินเฟ้อในประเทศ
มาดูสรุปกันว่าปัจจุบันแต่ละประเทศปรับขึ้นดอกเบี้ยกันไปเท่าไรแล้วบ้าง นับจากต้นปี 2022 ตามตารางนี้ครับ
ที่มา: Central banks, Nikkei Asia research
บทความที่น่าสนใจ
-
รูปแบบกราฟทั้ง 11 อย่างต่อไปนี้เป็นรูปแบบที่พบเห็นและใช้กันทั่วไปอย่างแพร่หลายในการวิเคราะห์กราฟสำหรับการเทรด นี่เป็นตัวอย่างการเริ่มต้นที่ด...
-
ได้ดูคลิปของลุงโฉลกที่พูดถึงแนวโน้มของตลาดหุ้น และลุงมีการสอนการใช้ indicator ที่ทางชมรมของคุณลุงโฉลกพัฒนาขึ้นมาแจกฟรี โดยใช้งานบนโปรแกรมดูก...
-
มาย้อนดูสถิติราคาน้ำมันย้อนหลังช่วงเข้าสู่ยุคเริ่มต้น Covid-19 ประมาณ ก.พ. 2020 จนถึงช่วงเริ่มผ่อนคลาย Covid-19 กัน จากกราฟจะพบว่าราคาน้ำมัน...
-
อัพเดทกราฟราคาย้อนหลัง ปี 2020-2023 ขอขอบคุณแหล่งที่มา: https://www.bangchak.co.th
-
Forex Chart Patterns ทั้ง 20 แบบนี้ เป็นตัวอย่างการวิเคราะห์ทิศทางแนวโน้มของราคาหุ้น สำหรับผู้ที่สนใจเก็บไว้เป็นแนวทางศึกษาทางเทคนิคอลครับ C...
-
กฎสำคัญของการลงทุนเป็นหลักการที่ช่วยให้นักลงทุนตัดสินใจได้อย่างมีเหตุผล ลดความเสี่ยง และเพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทนในระยะยาว ต่อไปนี้คือกฎส...
-
Global market capitalization ปี 2023 เรียงลำดับจากมากไปน้อย สหรัฐอเมริกา 60.5% ญี่ปุ่น 6.2% อังกฤษ 3.7% ฝรั่งเศษ 2.8% จีน 2.8% แคนานา 2.5% ส...
-
หลังสหรัฐอเมริกาประกาศขึ้นภาษีตอบโต้ทั่วโลก ซึ่งได้รับผลกระทบกันไปเต็มๆ รวมทั้งประเทศในอาเซียนของเราด้วย มาดูผลกระทบการส่งออกของไทยไปยังสหรั...
-
บทความนี้จะพยายามรวบรวมหุ้นแต่ละตัว แบ่งเป็น sector เพื่อความสะดวกในการหาเพื่อนร่วม sector ครับ AGRIBUSINESS EE GFPT LEE MAX NER PPPM STA TR...
-
ลักษณะของหุ้นในช่วงสเตจ 3 ความผันผวนของราคาหุ้นเพิ่มมากขึ้น ราคาหุ้นเหวี่ยงขึ้นเหวี่ยงลงกว้างมากขึ้น แต่หลวมมากขึ้น ถึงแม้ว่าราคาโดยรวมจะคล...